5 วิธีน้ำหนักพอดี ๆ ยามท้อง
2012-07-05 14:48:46
Advertisement
คลิก!!!
ตั้งครรภ์


5 วิธีน้ำหนักพอดีๆ ยามท้อง (รักลูก)
เรื่อง สบาย : ก้านแก้ว

คุณแม่ท้องมักจะกังวลเรื่องอาหารการกินและน้ำหนัก บางคนจะกินเยอะ ๆ เผื่อลูกในท้อง บางคนกินเท่าไร น้ำหนักก็ยังน้อยอยู่ดี ซึ่งระดับน้ำหนักที่มากหรือน้อยเกินไป ส่งผลต่อสุขภาพคุณแม่และคุณลูกนะคะ ดังนั้นมาคุมน้ำหนักให้พอดีกันดีกว่าค่ะ

น้ำหนักมาก VS น้ำหนักน้อย

ปกติแล้ว น้ำหนักตามเกณฑ์ของคุณแม่ตั้งครรภ์ คือ

ไตรมาสแรกควรเพิ่มประมาณ 1 กิโลกรัม

ไตรมาสที่ 2 ควรเพิ่มประมาณ 4-5 กิโลกรัม

ไตรมาสที่ 3 ควรเพิ่มประมาณ 5-6 กิโลกรัม

ตลอดการตั้งครรภ์ควรเพิ่มขึ้นประมาร 10-12 กิโลกรัม

ถ้าคุณแม่มีน้ำหนักมากเกินไป โดยตลอดการตั้งครรภ์น้ำหนักเพิ่มขึ้น 20 กิโลกรัมขึ้นไป อาจเสี่ยงต่อการมีน้ำตาลในเลือดสูง หรือเกิดความดันโลหิตสูง นำไปสู่ภาวะครรภ์เป็นพิษได้ค่ะ

แต่ถ้าคุณแม่อยู่ในกลุ่มที่น้ำหนักตัวน้อย หรือน้ำหนักตัวเพิ่มช้า อายุครรภ์ 5-6 เดือน น้ำหนักยังไม่ค่อยขึ้น หรือตลอดการตั้งครรภ์น้ำหนักขึ้นเพียงแค่ 2 กิโลกรัม คุณแม่กลุ่มนี้จะส่งผลให้ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า และอาจพิการแต่กำเนิดได้ค่ะ

คุมน้ำหนักเรื่องชิว ๆ

คุณแม่ท้องสามารถคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่ปกติ ด้วยวิธีง่าย ๆ เหล่านี้ค่ะ

1.กินอย่างเบา ๆ แต่มีประโยชน์ คุณแม่ท้องที่หิวบ่อย ควรแบ่งอาหารมื้อใหญ่เป็นมื้อเล็ก ๆ ประมาณ 4-6 มื้อต่อวัน เลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ครบทั้ง 5 หมู่ หลีกเลี่ยงน้ำอัดลมและของหวานที่มีปริมาณน้ำตาลมาก ๆ

2.เลือกธัญพืชเป็นของว่าง ระหว่างวันอาจหาอาหารจำพวก ถั่ว เมล็ดทานตะวัน ข้าวโอ๊ต ฯลฯ เป็นอาหารว่าง เพราะอุดมไปด้วยวิตามินและไฟเบอร์

3.อย่านอนดึก หากคุณแม่ท้องพักผ่อนไม่เพียงพอ อาจมีผลให้เกิดอาการอ่อนเพลีย ระหว่างวันและไม่อยากกินอาหาร ทำให้ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอและน้ำหนักไม่ขึ้นค่ะ

4.ออกกำลังกาย การออกกำลังกาย เช่น เดินช้า ๆ หรือโยคะสำหรับคุณแม่ท้อง นอกจากจะทำให้ร่างกายแข็งแรงแล้ว ยังช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น ลดปัญหาท้องอืด ท้องเฟ้อ ทำให้การกินอาหารแต่ละมื้อของคุณแม่เป็นไปอย่างระบบและสม่ำเสมอ

5.ทำใจให้หายหิว หายคุณแม่รู้สึกหิวขึ้นมา ทั้ง ๆ ที่กินอาหารครบทุกมื้อแล้ว อาจหากิจกรรมที่ผ่อนคลาย เช่น ฟังเพลง อ่านหนังสือ แต่ถ้าทำแล้วยังหิวอยู่ ขอให้เลือกกินผลไม้หรือดื่มน้ำผลไม้ แทนการกินอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตค่ะ

ดูแลน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติแล้ว อย่าลืมดูแลจิตใจให้สดใส เพื่อสุขภาพที่ดีทั้งคุณแม่คุณลูกนะคะ

ข้อมูลจากกระปุกดอดคอม

.



Latest





เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ “นโยบายการใช้คุกกี้”   ยอมรับ   นโยบายการใช้คุกกี้ X