เมื่อญี่ปุ่นมองการ์ตูนไทย
2014-10-05 19:12:15
Advertisement
คลิก!!!

เมื่อพูดถึงวงการการ์ตูนแล้วหลายๆ คนคงนึกถึงประเทศญี่ปุ่นมาเป็นอันดับแรกนะครับ ทั้งด้วยประวัติศาสตร์อันยาวนานหรือด้วยความผูกพันที่คนไทยมีต่อลายเส้นของญี่ปุ่น จนสามารถกล่าวได้ว่าคนส่วนใหญ่ของประเทศติดตามอ่านการ์ตูนญี่ปุ่นไม่ว่าจะในรูปแบบใดก็แล้วแต่ครับ 

ดังนั้นประเด็นที่ผมจะพูดถึงในวันนี้ก็มีที่มาจากเมื่อสองสัปดาห์ก่อนมีคนญี่ปุ่นเข้ามาที่บริษัทของผมเพื่อติดต่อพูดคุยถึงความเป็นไปได้ที่จะนำการ์ตูนไทยไปแปลจัดจำหน่ายที่ญี่ปุ่น ตรงนี้ผมมองว่าเป็นประเด็นที่น่าสนใจมากครับ 

กล่าวคือปัจจุบันเรามีนักเขียนการ์ตูนฝีมือดีมากมายที่ไปชนะรางวัลระดับนานาชาติแต่อาจจะขาดแรงสนับสนุนพอสมควร ดังนั้นบทสนทนาของผมกับนักธุรกิจจึงเป็นประเด็นที่ผมเล็งเห็นว่ามีความสำคัญต่อวงการการ์ตูนในบ้านเรา โดยผมจะขอสรุปประเด็นที่คิดว่าเป็นประโยชน์ดังนี้

1. เลิกกังวลเรื่องลายเส้น

สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งคือ “ลายเส้นต้องสวย” หากคุณคิดจะไปขายงานที่ญี่ปุ่น เช่นเดียวกับอาหารที่ญี่ปุ่นมองเป็นศิลปะให้เราดื่มกิน การ์ตูนก็ถือเป็นศิลปะให้เราดื่มกินทางตัวอักษรเช่นกัน อย่างไรก็ตามนักธุรกิจที่ผมคุยด้วยมองว่างานที่ดีไม่จำเป็นต้องแสดงลายเส้นหรือองค์ประกอบประจำชาติจนเต็มหรือเป็นสัดส่วนหลักของผลงานก็ได้ 

แน่นอนจะมีคนบางส่วนที่อยากให้งานเขียนอันเป็นหน้าเป็นตาของประเทศได้แอบแฝงความเป็นเอกลักษณ์ของชาติออกไปด้วย แต่อย่าลืมว่าสิ่งสำคัญของการ์ตูนคือความสนุกและกลมกล่อม ไม่ใช่การเป็นทูตวัฒนธรรม ดังนั้นทางที่ดีที่สุดคือการจัดสมดุล หากเรามีลายเส้นและเนื้อเรื่องที่สนุกก็จะช่วยยกระดับชิ้นงานได้มากแล้ว สรุปได้ว่าหากคิดจะให้เป็นงานที่ดีต้องเริ่มด้วยโครงเรื่องที่ดีก่อน และพยายามมองตัวเองจริงๆ ว่าลายเส้นพยายามไทยของตัวเองมีปัญหาหรือดีพอรึเปล่า ถ้าเรามองงานตัวเองอย่างเป็นกลางก็จะสร้างงานที่ดีขึ้นได้ครับ

2. เนื้อเรื่องน่าสนใจ

อันนี้คือประเด็นหลักที่ทำให้เกิดการประชุมระหว่างผมและนักธุรกิจชาวญี่ปุ่น เชามองว่าตอนนี้ตลาดการ์ตูนของญี่ปุ่นแม้จะไม่แย่ลงแต่ก็ชะลอตัวมานานมากแล้ว ญี่ปุ่นมีการ์ตูนมาแทบจะทุกรูปแบบจนคนอ่านเริ่มคิดว่าแต่ละเรื่องก็อปปี้กันมา ดังนั้นการมาในเมืองไทยคือเขาต้องการหาอะไรที่แตกต่างและถ้าเป็นสิ่งที่หาในญี่ปุ่นไม่ได้ก็จะดีมาก หรือถ้าจะคล้ายบ้าง “ความเป็นงานต่างชาติ” ก็จะช่วยปกป้องผลงานเอาไว้เอง 

ประเภทของหนังสือการ์ตูนไทยที่เขาสนใจ ก็ล้วนเกี่ยวกับความเป็นไทย งานพวกนี้จะไม่มีตัวเปรียบเทียบ อย่างเช่นเรื่องดนตรีไทย วรรณคดีไทยดัดแปลง เป็นต้น นอกจากนี้อีกเรื่องที่เขาสนใจมากคือ “เรื่องผีไทย” มันไม่ต้องเป็นถึงขนาดผีไล่ฆ่าคนนะครับ แต่เขามองว่าผีไทยมักมีคอนเซปต์ที่ดี แบบพี่มากพระขโนงเป็นต้น ถ้ามีการ์ตูนเทือกนั้นตลาดต่างประเทศจะชอบ 

(อันนี้จริงจังเลยครับ ต่างชาติให้ความสำคัญกับเรื่องผีของไทยมาก เช่น อินโดนิเซียที่เป็นเมืองอิสลาม เขาเขียนหนังสือผีออกมาได้ไม่มากด้วยข้อจำกัดทางศาสนา เขาเลยต้องมาหาหนังสือผีจากไทยแทน) 

เชื่อไหมว่าหนังสือผีเล่มละ 5 บาทที่เขาเจอตามร้านหนังสือเก่าในไทยสร้างความสนใจได้มากเลยครับ มันมีเอกลักษณ์ สรุปแล้วนักเขียนการ์ตูนถ้าอยากขายงานต่างชาติต้องหาอะไรที่มั่นใจว่า “เอาจากเราได้เท่านั้น” และพยายามหลีกเลี่ยงเนื้อเรื่องที่อาจก่อให้เกิดการเปรียบเทียบครับ (แบบเขียนการ์ตูนบาสก็ต้องวนไปสแลมดังก์แน่นอน ประมาณนี้)

3. น่าจะลองตลาดออนไลน์

อันนี้ถือเป็นมุมที่ผมสนใจนะครับ เพราะถ้าเป็นฝั่งตะวันตก เขาจะกังวลการขายงานมาเมืองไทยหรือแม้แต่ไม่แนะนำให้ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เอางานใดๆ ลงเน็ทอย่างเด็ดขาดเพราะความเชื่อว่า “ทุกอย่างที่เอาลงเว็บจะถูกขโมย” นั่นทำให้ตลาด e-book ของไทยไม่เติบโตเท่าไรนัก 

อย่างไรก็ตามหากเราเจาะเข้าไปดูปัญหาจริงๆ จะพบว่างานที่ถูกละเมิดล้วนเป็นงานที่มีชื่อเสียง งานที่ยังไม่ค่อยมีชื่อเสียงยังไม่ถูกละเมิดมากนัก (คือฟังแล้วก็เศร้าๆ ครับ แต่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเรื่องไหนดัง “โลก” ก็พร้อมจะมีให้โหลดทันที จะโดยตรงหรือโดยกระทู้สปอยเนียนตามเน็ทก็เถอะ) เพียงแต่ในกรณีนี้ชาวญี่ปุ่นแนะนำว่า การลงทุนสร้างชุมชนเล็กๆ ออนไลน์ให้ดูน่าเชื่อถือ มีระบบ (ฟีลมันจะเหมือนเว็บเขียนฟิคน่ะครับ) สามารถเก็บเงินได้ จะวางรากฐานที่ดีให้กับวงการการ์ตูน 

พูดตรงๆ ว่าทีแรกที่ผมฟังมันค่อนข้างอุดมคติครับ คือคิดง่ายๆ หากเรื่องมันดัง หรือไม่ต้องอะไรมาก คนไทยจ่ายเงินรอบเดียวแชร์ร้อยรอบ นักเขียนจะได้อะไร? คนญี่ปุ่นมองว่า community ต้องให้เขา คือหักลบกันไปว่าไม่ต้องตีพิมพ์และการรับเงินจะได้จากกลุ่มเป็นหลัก ยอดซื้อนั้นเป็นเรื่องรอง (มันอาจจะยากจึงต้องได้รับการสนับสุนจากหลายฝ่ายทั้งสปอนเซอร์และการสร้างความเชื่อมั่นด้วยวิธีมากมาย) 

สำคัญคือคนไทยต้องเริ่มงานเขียน ศักยภาพของคนไทยถูกจำกัดโดยสิ่งที่เขาไม่รู้จัก คนไทยไร้ที่จะเริ่ม เราไม่ควรเริ่มต้นด้วยการแข็งขัน เพราะนั่นอาจได้คนเพียงหนึ่งแต่ฆ่าความฝันของคนอีกเป็นร้อย เราต้องมีจุดเริ่มที่อบอุ่นและเปิดรับ รวมถึง “เป็นธุรกิจ” ให้คนได้หันเข้าหา หลุดพ้นจากความกลัวว่าหนังสือจะถูกละเมิดเมื่อไหร่และทำงานเขียนได้อย่างสบายใจ ... ญี่ปุ่นมองว่าตลาดคนไทยไปต่อได้ไกลอย่างแน่นอน

เรื่องโดย : ปูมิ  www.marumura.com

ที่มา  http://www.marumura.com/

.



Latest





เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ “นโยบายการใช้คุกกี้”   ยอมรับ   นโยบายการใช้คุกกี้ X