อันตราย! ใช้ทิ้นท์ไร้มาตรฐาน เสี่ยงแพ้ ทำปากบวม
2012-09-23 09:15:43
Advertisement
คลิก!!!
ทินท์ทาปาก

อย.เตือนภัย วัยรุ่นใช้ "ทิ้นท์" ทาปาก ระวัง! เจอของไม่ได้มาตรฐาน เสี่ยงแพ้ ปากบวม (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา)

          อย. เตือนวัยรุ่นที่ชอบใช้ทิ้นท์ทาปาก ระวัง! หากใช้ของไม่ได้มาตรฐาน ไม่ผ่าน อย. อาจได้รับอันตรายจากการปนเปื้อนของโลหะหนัก เสี่ยงแพ้ ปากบวม พร้อมแนะวิธีเลือกซื้อทิ้นท์อย่างปลอดภัย

          นพ.นรังสันต์พีรกิจ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า จากการติดตามและเฝ้าระวัง การใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสําอางในกลุ่มวัยรุ่น พบว่า เครื่องสําอางทาริมฝีปากที่มีลักษณะเป็นนํ้าใสสีแดง หรือที่เรียกว่า "ทิ้นท์" กําลังเป็นที่นิยมในกลุ่มวัยรุ่นหญิง เนื่องจากเมื่อนํามาทา ด้านในของริมฝีปาก จะทําให้ริมฝีปากเป็นสีชมพูระเรื่อ แลดูมีสุขภาพ ซึ่งวัยรุ่นส่วนใหญ่มักหาซื้อผลิตภัณฑ์ทิ้นท์ตามแผงลอย หรือตลาดนัด เพราะราคาไม่แพง และมีสีให้เลือกมากมายหลายระดับความเข้มของสี

          อย่างไรก็ตาม สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีความเป็นห่วงอย่างมากในเรื่องนี้ เนื่อง จากผลิตภัณฑ์ดังกล่าวสามารถหาซื้อได้ตามแผงลอย หรือตลาดนัดทั่วไป จึงอาจเป็นไปได้ที่อาจมีการลักลอบผลิตผลิตภัณฑ์ทิ้นท์ที่ไม่ได้มาตรฐาน ใช้สีห้ามใช้ หรือใช้สีที่ไม่ได้มาตรฐาน และอาจทำให้ผู้ใช้ได้รับอันตรายจากการกลืน หรือกินโลหะหนักที่ปนเปื้อนอยู่ในสี อาทิ ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม ซึ่ง หากได้รับโลหะหนักเหล่านี้ จะก่อให้เกิดอาการระคายเคืองอย่างรุนแรง ตั้งแต่มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ตาพร่ามัว หรือทําให้ริมฝีปากปวดแสบปวดร้อน คัน เห่อแดง บวม ลอกเป็นขุย

          ทั้งนี้ สีที่เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ทิ้นท์นั้น จะต้องเป็นสีที่อนุญาตให้ใช้ได้ในเครื่องสำอาง ดังนั้น ผู้ผลิต หรือผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์จะต้องมาจดแจ้งต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) หรือสํานักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) เสียก่อน



ทินท์ทาปาก


          อย่างไรก็ ตาม ขอให้ผู้บริโภคสังเกต และอ่านฉลากผลิตภัณฑ์ก่อนตัดสินใจซื้อ โดยฉลากจะต้องแสดงชื่อการค้า ชื่อเครื่องสําอาง ประเภท หรือชนิดของเครื่องสําอาง ชื่อของสารทุกชนิดท่ีใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสําอาง วิธีใช้เครื่องสําอาง ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต หรือผู้นําเข้า และชื่อผู้ผลิตและประเทศที่ผลิต กรณีเป็นเครื่องสําอางนําเข้า ปริมาณสุทธิ เลขที่ แสดงครั้งที่ผลิต เดือน ปี หรือ ปีเดือนที่ผลิต เดือน ปี หรือปีเดือนที่หมดอายุ ในกรณีที่เครื่องสําอางมีอายุการใช้น้อยกว่า 30 เดือน คําเตือน (ถ้ามี) และที่สำคัญ ต้องแสดงเลขที่ใบรับแจ้งบนฉลาก หรือกล่องผลิตภัณฑ์

          รองเลขาธิการฯ อย. กล่าวในตอนท้ายว่า ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบข้อมูลผลิตภัณฑ์ทิ้นท์ได้ที่เว็บไซต์สำนักงานคณะ กรรมการอาหารและยา fda.moph.go.th เลือก เครื่องสำอาง-ค้นหาข้อมูลเครื่องสำอาง ซึ่งช่องทางนี้ สามารถสืบค้นข้อมูลเครื่องสำอางได้จากชื่อผู้ประกอบการ ชื่อการค้า ชื่อเครื่องสำอาง เลขที่ใบรับแจ้ง และประเภทเครื่องสำอาง

          อย่างไรก็ตาม หากผู้บริโภคพบผลิตภัณฑ์เครื่องสําอางที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือได้รับอันตรายจากการใช้เครื่องสําอาง ขอ ให้ร้องเรียนที่สายด่วน อย. โทร. 1556 หรืออีเมล์ : [email protected] หรือส่งจดหมายไปที่ตู้ ปณ.1556 ปณฝ.กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 เพื่อ อย. จะได้ตรวจสอบและดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

 

 

ข้อมูลจากกระปุกดอดคอม

.



Latest





เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ “นโยบายการใช้คุกกี้”   ยอมรับ   นโยบายการใช้คุกกี้ X