ตามมาดู... งานประกาศรางวัลสุดเพี้ยน อิก โนเบล 2011
2012-09-07 13:04:17
Advertisement
คลิก!!!









เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก youtube.com โพสตฺโดย MerasZuokas , gray726

อย่างนี้ก็มีด้วย....งานวิจัยและคิดค้นสุดประหลาด แต่สร้างสรรค์ ในงานประกาศผลรางวัล "อิก โนเบล" ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งงานนี้เรียกได้ว่า ไม่เพี้ยนจริง ไม่ได้รางวัลนะเนี่ย...

ผ่านพ้นไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สำหรับงานประกาศผลรางวัล "อิก โนเบล" ครั้งที่ 21 ซึ่งจัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ในรัฐแมสซาชูเซตส์ แม้งานประกาศรางวัลจะจบลง แต่งานวิจัยที่ได้รับรางวัลกลับยังคงเป็นที่กล่าวขานถึง เนื่องจากงานวิจัยดังกล่าวเป็นสิ่งที่แปลกพิสดารที่ไม่มีใครเหมือน หรือไม่มีใครคิดจะทำมาก่อนเลยก็ว่าได้ โดยรางวัล อิก โนเบล (Ig Nobel) ย่อมาจาก Ignoble Nobel ซึ่งก่อตั้งโดย นาย มาร์ค อับราฮัมส์ บรรณาธิการนิตยสารวิทยาศาสตร์ ในปี 1991 เป็นต้นมา โดยจะมอบรางวัลให้กับงานวิจัยหรือผลงานค้นคว้าที่ถูกคิดขึ้นมา และเป็นงานที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ (Improbable Research) และจัดการมอบรางวัลทุกปีโดยมอบปีละ 10 รางวัลในสาขาต่าง ๆ กันไป

และในแต่ละปี นายมาร์ค อับราฮัม และคณะจะคอยสอดส่องและคัดเลือกหาผลงานวิจัยที่ไม่ได้รับความสนใจ แต่กลับมีแง่มุมที่น่าทึ่ง รวมถึงมีความคิดสร้างสรรค์ (แม้จะแฝงไปด้วยความตลกไปด้วยก็ตาม) มาเข้าร่วมงานประกาศรางวัลดังกล่าว และผลการประกาศรางวัลอิก โนเบลในปีนี้ มีจำนวนทั้งสิ้น 10 สาขา ได้แก่

สาขาสรีรวิทยา ในการค้นพบว่า เต่าเท้าสีแดง ไม่มีอาการหาวตาม ๆ กัน หลังจากที่มีตัวใดตัวหนึ่งเริ่มหาวก่อนเหมือนกับคน ซึ่งผลงานดังกล่าวเป็นของ

แอนนา วิลคินสัน (ประเทศอังกฤษ)

นาตาลี เซบานซ์ (ประเทศเนเธอร์แลนด์, ประเทศฮังการี และประเทศออสเตรีย)

อิซาเบลลา เมนเดิล (ประเทศออสเตรีย)

ลุดวิก ฮูเบอร์ (ประเทศออสเตรีย)

สาขาเคมี จากการเสนอความคิดว่า สามารถใช้สารระเหยของวาซาบิในการปลุกคนที่กำลังหลับ หากเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น ไฟไหม้ และเรียกผลงานนี้ว่า วาซาบิเตือนภัย ซึ่งผลงานดังกล่าวเป็นของ

มาโกโตะ อิมาอิ (ประเทศญี่ปุ่น)

นาโอกิ อุรุชิฮาตะ (ประเทศญี่ปุ่น)

ฮิเดกิ ทาเนมูระ (ประเทศญี่ปุ่น)

ยูกิโนบุ ทาจิมะ (ประเทศญี่ปุ่น)

ฮิเดอากิ โงโตะ (ประเทศญี่ปุ่น)

โคอิชิโร มิโซกูชิ (ประเทศญี่ปุ่น)

จุนอิจิ มุราคามิ (ประเทศญี่ปุ่น)

สาขาแพทยศาสตร์ จากการค้นพบว่า คนเราสามารถเลือกทางเลือกที่ดีกว่าในเรื่องต่าง ๆ ได้ แต่กลับจะเลือกหนทางที่เลวร้ายกว่าเดิม หากปวดปัสสาวะมาก ๆ ซึ่งผลงานดังกล่าวเป็นของ

เมอร์ยาม ทัค (ประเทศเนเธอร์แลนด์และประเทศอังกฤษ)

เดบรา ทรัมป์ (ประเทศเนเธอร์แลนด์)

ลุค วอร์ล๊อป (ประเทศเบลเยี่ยม)

สาขาจิตวิทยา จากความพยายามทดลองเพื่อทำความเข้าใจว่า ทำไมทุก ๆ วัน มนุษย์ต้องถอนหายใจ ซึ่งผลงานดังกล่าวเป็นของ

คาร์ล ฮัลเวอร์ ไทเกน (ประเทศนอร์เวย์)

สาขาวรรณกรรม ด้วยการคิดค้นทฤษฎีองค์ประกอบของการผัดวันประกันพรุ่ง เขาอธิบายว่า การจะเป็นคนที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงนั้น ต้องเลือกทำงานบางอย่างที่สำคัญ เพื่อใช้มันเป็นข้ออ้างในการเลี่ยงไม่ทำงานที่สำคัญยิ่งกว่า ซึ่งผลงานดังกล่าวเป็นของ

จอห์น เพอร์รี (ประเทศสหรัฐอเมริกา)

สาขาชีววิทยา จากการค้นพบว่า เต่าทองเพศผู้ในตระกูลบูเพรสติด ชอบมีสัมพันธ์ทางเพศกับขวดเบียร์ของออสเตรเลียที่มักถูกเรียกว่า สตับบี ซึ่งผลงานดังกล่าวเป็นของ

ดาร์รีล เกว็นน์ (ประเทศแคนาดา, ประเทศออสเตรเลีย, ประเทศอังกฤษ และประเทศสหรัฐอเมริกา)

เดวิด เรนท์ซ (ประเทศออสเตรเลียและประเทศสหรัฐอเมริกา)

สาขาฟิสิกส์ จากการค้นพบว่า ทำไมนักขว้างจักรถึงมีอาการวิงเวียน และทำไมนักขว้างลูกเหล็ก ถึงไม่เป็นแบบนั้น ซึ่งผลงานดังกล่าวเป็นของ

ฟิลิปป์ แปร์รอง (ประเทศฝรั่งเศส)

ซิริล แปร์โรต์ (ประเทศฝรั่งเศส)

โดมินิก เดอวิแตนท์ (ประเทศฝรั่งเศส)

บรูโน ราการู (ประเทศฝรั่งเศส)

เฮอร์แมน คิงมา (ประเทศฝรั่งเศส)

สาขาคณิตศาสตร์ สำหรับนักพยากรณ์โลกแตกทั้งหลาย เนื่องจากพวกเขาเป็นผู้สอนให้โลกรู้จักการระมัดระวังในการตั้งสมมติฐาน หรือการคำนวณใด ๆ ทางคณิตศาสตร์ เนื่องจากต่างทำนายว่าโลกจะแตกในปีต่าง ๆ แต่กลับไม่เกิดขึ้นจริง ซึ่งผลงานดังกล่าวเป็นของ

โดโรธี มาร์ติน เคยทำนายว่าโลกจะถึงกาลอวสานในปี 1954 (ประเทศสหรัฐอเมริกา)

แพท โรเบิร์ตสัน เคยทำนายว่าโลกจะถึงกาลอวสานในปี 1982 (ประเทศสหรัฐอเมริกา)

เอลิซาเบธ แคลร์ เคยทำนายว่าโลกจะถึงกาลอวสานในปี 1990 (ประเทศสหรัฐอเมริกา)

ลี จัง ริม เคยทำนายว่าโลกจะถึงกาลอวสานในปี 1992 (ประเทศเกาหลี)

เครโดเนีย มาเวอรินเด เคยทำนายว่าโลกจะถึงกาลอวสานในปี 1999 (ประเทศอูกันดา)

ฮาร์โรลด์ แคมปิง เคยทำนายว่าโลกจะถึงกาลอวสานในวันที่ 6 กันยายน 1994 และต่อมาในวันที่ 21 ตุลาคม 2011 (ประเทศสหรัฐอเมริกา)

สาขาสันติภาพ จากการคิดค้นวิธีแก้ปัญหาการจอดรถผิดกฎหมายของบรรดารถหรูทั้งหลาย ได้ด้วยการขับรถถังทับจนเละ ซึ่งผลงานดังกล่าวเป็นของ

อาร์ทูรัส ซูโอคัส (ประเทศลิธัวเนีย)

สาขาสาธารณสุข จากการค้นพบการใช้ที่บังแดดหน้ารถขณะขับรถยนต์บนทางหลวง จะบดบังทัศนวิสัยของคนขับ ทำให้มองไม่เห็น ซึ่งผลงานดังกล่าวเป็นของ

จอห์น เซ็นเดอร์ส (ประเทศแคนาดา)


ข้อมูลจากกระปุกดอดคอม

onlyfans leaked xxx onlyfans leaked videos xnxx 2022 filme porno filme porno
.



Latest





เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ “นโยบายการใช้คุกกี้”   ยอมรับ   นโยบายการใช้คุกกี้ X