ชำแหละ "แอปเปิล-เฟซบุ๊ก" บนสองเทรนด์ที่สวนทาง
2012-08-28 10:28:44
Advertisement
คลิก!!!

มี 2 กระแสหลักในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีที่ใคร ๆ พากันกล่าวขวัญถึง นั่นคือการอยู่ในสถานะที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงของบริษัทยักษ์ใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับผู้คนมากมายอย่างแอปเปิลกับเฟซบุ๊ก ซึ่งราคาหุ้นและความเชื่อมั่นในหมู่นักลงทุนสวนทางกันอย่างสิ้นเชิง
รอยเตอร์สระบุว่า บริษัทที่ก่อตั้งโดยสตีฟ จ็อบส์ ทำสถิติสูงสุดครั้งใหม่แทบทุกวัน ล่าสุดในการเทรดวันแรกของสัปดาห์ที่ผ่านมา มูลค่าตลาดของแอปเปิลพุ่งสูงสุดที่ 6.235 แสนล้านดอลลาร์ ทุบสถิติสูงสุดตลอดกาลของบริษัทในสหรัฐที่ไมโครซอฟท์เคยทำไว้ที่ 6.133 แสนล้านดอลลาร์เมื่อธันวาคม 2542 นักวิเคราะห์มองว่า อิทธิพลของแอปเปิลที่มีต่อเศรษฐกิจประเทศ ตลาดหุ้น และวัฒนธรรมพ็อปสูสีกับองค์กรอื่น ๆ ที่ทรงอำนาจที่สุดในสหรัฐอย่างเจนเนอรัล มอเตอร์ส ไมโครซอฟท์ และไอบีเอ็มมูลค่าตลาดของบริษัทผู้ผลิตไอโฟนทิ้งห่างเอ็กซ์ซอน โมบิล ซึ่งเป็นอันดับสองราว 2 แสนล้านดอลลาร์ ช่วงห่างดังกล่าวเกือบเท่ากับมูลค่าตลาดของไอบีเอ็มในปัจจุบัน
แอปเปิลแซงหน้าเอ็กซ์ซอนฯมาเป็นเบอร์หนึ่งด้านมูลค่าตลาดตั้งแต่ปีที่แล้ว แต่ยังห่างไกลจากมูลค่าตลาดที่ไมโครซอฟท์เคยสร้างสถิติไว้ หลังจากนั้นราคาหุ้นของแอปเปิลก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แม้ว่าจ็อบส์
ซึ่งเป็นมันสมองเบื้องหลังพัฒนาการของบริษัทจะเสียชีวิตในเดือนตุลาคมปีกลาย และบริษัทยังไม่สามารถออกไลน์ผลิตภัณฑ์ใหม่ได้เลยหลังจากคลอดไอแพดในปี 2553
นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ยอดขายของแอปเปิลอาจทุบสถิติครั้งใหม่อีกครั้งหลังการเปิดตัวไอโฟน 5 และมินิไอแพด ประกอบกับข่าวเตรียมพัฒนาแอปเปิลทีวี
กลับมาดูอีกกระแสที่อยู่ในทิศทางตรงข้าม หลังเฟซบุ๊กเสนอขายหุ้นต่อสาธารณชน (IPO) ในเดือนพฤษภาคมที่ 38 ดอลลาร์ต่อหุ้น ราคาก็ขยับเป็นหุ้นละ 45 ดอลลาร์ จากนั้นกลับทรุดลงเรื่อย ๆ จนทุกวันนี้เกินครึ่งของราคา IPO เพียงเล็กน้อย สถานการณ์ยิ่งซับซ้อนเมื่อปรากฏว่าผู้ที่ทิ้งหุ้นเฟซบุ๊กลอตใหญ่คือนักลงทุนภายในบริษัท เมื่อระยะเวลาห้ามเทรดหุ้นของบุคคลกลุ่มนี้สิ้นสุดลง
การเทขายหุ้นเฟซบุ๊กที่ยังดำเนินต่อไปบั่นทอนความเชื่อมั่นของนักลงทุน เช่นเดียวกับความเชื่อมั่นที่มีต่อมาร์ก ซักเกอร์เบิร์ก ในฐานะประธานบริหาร แต่ไม่มีทางที่จะปลดเขาจากเก้าอี้ได้ เว้นแต่เขาจะยินยอมสละตำแหน่งเอง เพราะซักเกอร์เบิร์กยังคงถือหุ้นใหญ่ในเฟซบุ๊ก
เทรนด์ในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีที่ไปกันคนละทางทำให้มีคำถามผุดขึ้นมาว่า ทำไมราคาหุ้นของแอปเปิลถึงดีวันดีคืน และจะดำเนินไปเช่นนี้อีกนานแค่ไหน ส่วนเฟซบุ๊กทำไมจึงย่ำแย่ลงทุกที ทั้งที่มีฐานผู้ใช้ทั่วโลกเกือบพันล้านคน และให้บริการในหลายสิบภาษา
สำหรับกรณีของแอปเปิล แวลูวอล์กดอตคอม มองว่า คำตอบคือบริษัทนี้เสนอไลน์สินค้าที่สุดยอด พร้อมบริการหลังการขายที่ยอดเยี่ยมไม่แพ้กัน ผลิตภัณฑ์ของแอปเปิลสร้างกำไรมหาศาลให้บริษัท ซึ่งนำเงินไปทุ่มให้กับการวิจัยและพัฒนาเพื่อนำเสนอนวัตกรรมล้ำยุคชิ้นต่อไปสู่ตลาด
แต่การก้าวไปเป็นเบอร์หนึ่งอาจยากกว่ารักษาตำแหน่งเอาไว้ ถือเป็นความท้าทายครั้งใหญ่ที่ต้องพยายามดึงดูดลูกค้าที่มีความคาดหวังมากขึ้นให้กลับมาซื้อสินค้าของบริษัทครั้งแล้วครั้งเล่า สิ่งที่แอปเปิลต้องเผชิญเป็นสถานการณ์ที่จีเอ็ม ไมโครซอฟท์ และไอบีเอ็มเคยประสบมาแล้ว ยิ่งมียอดขายและขนาดองค์กรใหญ่ขึ้น ก็ยิ่งยากที่จะรักษาอัตราการเติบโตของรายได้รวมถึงกำไรให้อยู่ในระดับเดียวกัน และยิ่งหินสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และดำรงวัฒนธรรมที่ทั้งสร้างแรงบันดาลใจให้ลูกค้าและกระตุ้นคู่แข่ง
วอลล์สตรีต เจอร์นัล ตั้งข้อสังเกตว่า ธรรมชาติของธุรกิจคือ บริษัทขนาดเล็กมาพร้อมกับกลยุทธ์ใหม่ ๆ ที่ช่วยให้เติบโตอย่างรวดเร็ว และเข้ามาแทนที่บริษัททีใหญ่กว่า เหมือนที่แอปเปิลแซงหน้าไมโครซอฟท์ ในอนาคตก็ย่อมต้องมีใครมาแทนที่แอปเปิล คีธ สปริงเกอร์ ประธานบริษัทที่ปรึกษาสปริงเกอร์ ไฟแนนเชียล แอดไวเซอร์ส กล่าวว่า "ไม่มีผลิตภัณฑ์ใดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติที่บริษัทผู้ผลิตยังคงทำได้ดีขึ้น ๆ ถึงจุดหนึ่งมูลค่าบริษัทจะสูงเกินไป"
ดีคริปเต็ดเทคดอตคอม ชี้ว่า แอปเปิลก้าวขึ้นมาผงาดได้ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความสามารถทางการตลาด บริษัทนี้มีทีมมาร์เก็ตติ้งที่ดีที่สุดในโลกทีมหนึ่ง นำโดยจ็อบส์ที่นำเสนอเทคโนโลยีที่มีอยู่ในรูปของนวัตกรรม เริ่มต้นจากไอพอด แล้วขยับไปยังไอโฟนและไอแพด ปัญหาขณะนี้คือตลาดเหล่านี้กำลังอิ่มตัว และผู้บริโภคเริ่มมองหานวัตกรรมที่แท้จริง เห็นได้จากไอโฟน 4 และ 4S ไม่ประสบความสำเร็จมากเท่ากับไอโฟน 3 เพราะขาดเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่คู่แข่งมีโฮเวิร์ด ซิลเวอร์บลาตต์ นักวิเคราะห์ดัชนีอาวุโส จากเอสแอนด์พี อินดิเซส ระบุว่า มูลค่าตลาดที่เป็นตัวเงินของแอปเปิลแซงหน้าสถิติที่ไมโครซอฟท์เคยทำไว้ก็จริง แต่ถ้าปรับค่าเงินเฟ้อแล้ว ผู้ผลิตไอโฟนต้องเพิ่มมูลค่าตลาดให้ถึง 9 แสนล้านดอลลาร์จึงเอาชนะได้
อย่างไรก็ตาม "เราคิดว่าแอปเปิลมีความเป็นไปได้สูงที่จะเป็นบริษัทแห่งแรกในสหรัฐที่มีมูลค่าตลาดทะลุหลักล้านล้านดอลลาร์" เดนนิส วิลเลอร์ ที่ 3 หุ้นส่วนของกองทุนบริหารสินทรัพย์วิลเลอร์ แอนด์ โคกล่าว ทั้งนี้ในปี 2550 ปิโตรไชน่าเป็นบริษัทแรกของโลกที่มีมูลค่าตลาดเกิน 1 ล้านล้านดอลลาร์ แม้จะเป็นระยะเวลาสั้น ๆ
ส่วนคำถามที่เกี่ยวกับการถอยหลังลงคลองของหุ้นเฟซบุ๊กนั้น คำตอบอยู่ที่ปัจจัย 3 อย่าง 1)เฟซบุ๊กมีบริการลูกค้าที่ย่ำแย่ ในบางกรณีต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะแก้ไขปัญหาเสร็จสิ้น เช่น การลบภาพที่ผู้ใช้ไม่ต้องการออกจากเซิร์ฟเวอร์ เสียงตอบรับต่อบริการลูกค้าของเฟซบุ๊กเป็นไปในแง่ลบมากกว่าบวก ซึ่งยากที่บริษัทใดจะรุ่งโรจน์ได้ถ้ามีคัสตอมเมอร์เซอร์วิสแย่แบบนี้
2)เฟซบุ๊กรอนานเกินไปกว่าจะหาทางทำเงินจากอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ ปัจจุบันผู้ใช้ส่วนใหญ่เข้าถึงโซเชียลเน็ตเวิร์กแห่งนี้ผ่านทางสมาร์ทโฟน แต่เฟซบุ๊กล้มเหลวในการหารายได้จากแอปพลิเคชั่นบนมือถือ ซึ่งไม่เพียงส่งผลเสียต่อตัวเองเท่านั้น ยังกระทบต่อหุ้นส่วนอย่างซินก้า ซึ่งเป็นบริษัทเกมบนโซเชียลเน็ตเวิร์กด้วย และอีกประเด็นสำคัญคือ
3)เฟซบุ๊กเป็นบริษัทที่จับต้องไม่ได้ เช่นเดียวกับบริษัทดอตคอมหลายแห่งในช่วงปลายทศวรรษ 1990 ซึ่งเป็นช่วงสุดท้ายของยุคอินเทอร์เน็ตบูม นี่คือบริษัทที่ไม่ได้ผลิตสิ่งใดออกมาจริง?ๆ?ดังนั้นจึงมีแหล่งที่มาของกำไรจำกัด?เช่น การลงโฆษณา
แต่แม้ว่ารายได้หลักจะมาจากโฆษณา แต่บริษัทก็ไม่สามารถโหมลงโฆษณาเพื่อเพิ่มรายได้ได้ เพราะอาจสร้างความไม่พอใจให้ผู้ใช้จนหันหลังให้เฟซบุ๊กหรือลดความถี่ในการใช้งานลง ซึ่งจะกระทบต่อยอดลงโฆษณาอีกต่อหนึ่ง
ทางแก้ของเฟซบุ๊กอาจไม่ใช่การเลื่อยขาเก้าอี้ซักเกอร์เบิร์ก แต่เป็นการจ้างผู้บริหารที่เชี่ยวชาญเฉพาะทางเพื่อแก้ปัญหาที่ให้ตรงจุด และผลักดันบริษัทกลับสู่เส้นทางเติบโตอีกครั้ง ซึ่งจะช่วยสร้างความมั่นใจให้นักลงทุนอีกครั้ง
(ที่มา : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์)
onlyfans leaked xxx onlyfans leaked videos xnxx 2022 filme porno filme porno
.



Latest





เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ “นโยบายการใช้คุกกี้”   ยอมรับ   นโยบายการใช้คุกกี้ X