เพียงนำเทปแปะลงในมือถือ ระบายสี ทำให้คุณสามารถเห็นสิ่งที่น่าขยะแขยงจากการถ่ายรูป!
2015-08-06 11:48:27
Advertisement
คลิก!!!

เพียงนำสกอตเทปแปะลงในมือถือและระบายสีลงไป

จะทำให้คุณสามารถเห็นสิ่งที่น่าขยะแขยงจากการถ่ายรูปได้

ในทุกๆ สองสามสัปดาห์ จะมีรายงานข่าวเรื่องการระบาดของโลกไข้หวัดใหญ่หรือไวรัสทางเดินอาหารปรากฎอยู่ตามหน้าสื่อต่างๆ

โดยส่วนใหญ่นั้น มักจะเป็นเรื่องของสุขอนามัยที่ไม่ดีพอและการแพร่กระจายของเชื้อโรคต่างๆ ปัญหาเหล่านี้นั้นเกิดขึ้นจากภัยคุกคามที่คุณไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่ใครจะไปคิดล่ะว่ามือถือของคุณจะสามารถจับร่องรอยบางอย่างที่ดูน่าขนลุกนี้เอาไว้ได้  

ด้านล่างนี้คือคลิปวีดีโอแนะนำการทำในขั้นตอนต่างๆ เพื่อตรวจหาสิ่งสกปรกที่คุณไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาของคุณเอง

 

มันน่ากลัวไปเลยใช่มั้ยล่ะกับสิ่งที่เผยให้เห็นออกมา เคล็ดลับนี้คุณสามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยตัวของคุณเอง ยังไงซะความปลอดภัยในเรื่องสุขอนามัย ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อสุขภาพร่างกายของคนเราทุกๆ คนนะ

แปลจาก http://beyondblindfold.com

 

เมื่อบทความถูกโพสบนเฟซบุ๊ก และมีการแชร์ต่อๆกัน แฟนเพจได้คอมเมนต์แนะนำ บทความจาก

https://www.facebook.com/Medtechtoday

เพื่อเป็นข้อพิสูจน์ที่เห็นแย้งกับบทความชิ้นนี้โดยมีข้อความดังต่อไปนี้

 

เทคนิคการแพทย์ชี้ ทำไฟ BlackLight ส่องเชื้อโรคจากแฟลชมือถือไม่เป็นความจริง

ทนพ.ภาคภูมิ เดชหัสดิน นักเทคนิคการแพทย์ หน่วยตรวจโรคติดเชื้อทางโลหิตวิธีอณูชีววิทยา ฝ่ายตรวจคัดกรองโลหิตศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย กล่าวถึงกรณีที่มีการแชร์บทความและคลิปในโลกออนไลน์ สอนทำไฟ Blacklight จากแฟลชมือถืออย่างง่าย ๆ โดยอ้างว่าจะช่วยให้เห็นคราบแบคทีเรีย หรือเชื้อโรคต่าง ๆ ที่ติดอยู่ตามสุขภัณฑ์ในห้องน้ำได้ ว่าเรื่องดังกล่าวไม่เป็นความจริง ไฟ BlackLight ที่ทำจากโทรศัพท์มือถือ ไม่สามารถส่องหาเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อโรคต่างๆ ตามที่อ้างได้

ที่มาภาพ https://www.facebook.com/Medtechtoday

 

ทนพ.ภาคภูมิ กล่าวต่อไปว่า ตนได้ลองเอาเชื้อโรคปริมาณมากๆ ที่เพาะได้บนอาหารเลี้ยงเชื้อ มาหยดลงบนวัสดุต่างๆ แล้วลองส่องด้วยแฟลชมือถือที่ทำไฟ BlackLight ตามคลิป ปรากฏว่าไฟ BlackLight ทำให้ตัวอักษรที่เขียนปากกาสะท้อนแสงดูเด่นออกมาได้ แต่เชื้อโรคที่ตนป้ายตามวัสดุต่างๆกลับไม่มีแสงสะท้อนดั่งในคลิปเลย

"สำหรับวิธีการใช้ไฟส่องหาเชื้อโรคที่ถูกต้องนั้น โดยปกติแล้วนักเทคนิคการแพทย์จะใช้ไฟส่องหาเชื้อราบางชนิด ที่เราเรียกว่า Wood’s lamp examinations โดยจะส่องดูตรงบริเวณที่เป็นโรค เชื้อราบางชนิดจะเรืองแสงให้เห็น ย้ำว่าเป็นบางชนิดเท่านั้น” ทนพ.ภาคภูมิกล่าว และว่าเครื่องนี้จะเป็นเครื่องกำเนิดแสงที่มีความยาวคลื่นประมาณ 365 นาโนเมตรซึ่งจะใกล้เคียงกับความยาวคลื่นของ UVA และส่วนใหญ่วิธีการตรวจหาเชื้อราเพียงแค่ใช้ไฟมาส่องมันไม่เพียงพอ เรามักจะนำไปดูในกล้องจุลทรรศน์ต่อให้แน่ใจยิ่งขึ้น โดยขูดผิวบริเวณที่สงสัยลงบนสไลด์แล้วหยดน้ำยาโปแตสเซียมไฮดรอกไซด์ (KOH) ก่อนดูกล้องจุลทรรศน์หรือย้อมสีอื่นๆ ตลอดจนนำไปเพาะเชื้อต่อไป

ทนพ.ภาคภูมิ กล่าวอีกว่า ในส่วนของเชื้อโรคที่เป็นเชื้อแบคทีเรียนั้น มีขนาดเล็กมาก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ต้องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์กำลังขยายสูง บางกรณีต้องใช้เทคนิคการย้อมสี หรือนำไปเพาะเลี้ยงบนอาหารเลี้ยงเชื้อเพืื่อแยกชนิดของเชื้อต่อไป

ที่มาภาพ https://www.facebook.com/Medtechtoday

 

"การตรวจหาเชื้อโรค มีขั้นตอนและวิธีการทางห้องปฏิบัติการมากมาย ต้องอาศัยความรู้ ความชำนาญเฉพาะจากนักเทคนิคการแพทย์ จึงจะบอกได้ว่าเชื้อโรคนั้นเป็นเชื้ออะไร ลำพังแต่ไฟจากโทรศัพท์มือถือคงบอกไม่ได้ ความจริงแล้วเชื้อโรคมีอยู่ในสิ่งแวดล้อมรอบตัวเราทุกแห่ง ไม่ได้มีแต่ในโถสุขภัณฑ์ตามที่คลิปบอก วิธีป้องกันการติดเชื้อที่ดดีก็คือการล้างมือให้สะอาดหลังสัมผัสสิ่งสกปรก" ทนพ.ภาคภูมิกล่าว

อนึ่ง บทความและคลิปดังกล่าว ได้สอนวิธีการทำไฟ BlackLight จากโทรศัพท์มือถือเพื่อส่องดูเชื้อโรคว่า สิ่งที่ต้องเตรียมมีสก็อตเทปใส ปากกาเมจิก หรือปากกาเน้นข้อความสีม่วง และสีน้ำเงิน ขั้นแรกให้นำสก็อตเทปใสปิดทับบริเวณแฟลชของมือถือ แล้วใช้ปากกาเมจิก หรือปากกาเน้นข้อความสีน้ำเงินระบายทับบริเวณแฟลช รอให้สีแห้ง จากนั้นใช้สก็อตเทปใสแปะทับลงไปอีกชั้นระบายสีน้ำเงินทับลงไปอีกครั้งหนึ่ง ขั้นสุดท้ายแปะสก็อตเทปใสซ้ำลงไป และระบายด้วยสีม่วงเป็นอันเสร็จ จากนั้นปิดไฟห้องน้ำให้มืด เปิดเมนูกล้องในโทรศัพท์ขึ้นมา จะกดถ่ายภาพด้วยโหมดแฟลช หรือจะเปิดไฟฉายแล้วส่องดู ก็จะเห็นคราบแบคทีเรีย หรือเชื้อโรคต่าง ๆ ที่ติดอยู่ตามสุขภัณฑ์ในห้องน้ำนั้นได้

บทความแนะนำ https://www.facebook.com/Medtechtoday

นำเสนอโดย http://www.popcornfor2.com

 

 

.



Latest





เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ “นโยบายการใช้คุกกี้”   ยอมรับ   นโยบายการใช้คุกกี้ X