อย.แขวนชื่อปรับ 12 นิตยสารดัง โฆษณาเกินจริง จ่อเพิ่มโทษ
2014-09-10 12:37:33
Advertisement
คลิก!!!

       อย. แขวนชื่อปรับนิตยสารดัง 12 ราย ฐานโฆษณาผิดกฎหมาย ทั้ง พ.ร.บ.อาหาร และเครื่องมือแพทย์ เหตุไม่ได้รับอนุญาต ควบสร้างความเข้าใจผิด จ่อเพิ่มโทษโฆษณา พ.ร.บ.อาหาร เอาผิดทั้งโทษจำโทษปรับ

     ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้แจ้งผลการดำเนินคดีเปรียบเทียบปรับประจำเดือน ก.ค. 2557 ผู้ที่กระทำผิดกฎหมายที่ อย. รับผิดชอบ โดยมีทั้งสิ้น 71 ราย โดยจำนวนนี้เป็นบรรณาธิการนิตยสารจำนวน 12 ราย ได้แก่
       
       1. บรรณาธิการนิตยสาร Men’s Health ข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 โฆษณาคุณประโยชน์อาหารโดยไม่ได้รับอนุญาต ปรับ 5,000 บาท 3 ครั้ง
       
       2.บรรณาธิการนิตยสารสุขกายสบายใจ ผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2551 ข้อหาโฆษณาเครื่องมือแพทย์โดยไม่ได้รับอนุญาต ปรับ 12,500 บาท
       
       3. บรรณาธิการนิตยสารคุณแม่ ฝร.6617 ผิดตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 ข้อหา โฆษณาคุณประโยชน์อาหารโดยไม่ได้รับอนุญาต ปรับ 5,000 บาท และ 10,000 บาท
       
       4. บรรณาธิการนิตยสาร OHO ผิดตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 ข้อหาโฆษณาคุณประโยชน์อาหารโยไม่ได้รับอนุญาต ปรับ 10,000 บาท และ 5,000 บาท
       
       5. บรรณาธิการนิตยสารรักลูก ผิด พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 ข้อหาโฆษณาคุณประโยชน์อาหารโดยไม่ได้รับอนุญาต ปรับ 5,000 บาท
       
       6. บรรณาธิการนิตยสาร Oops! ผิด พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 ปรับ 5,000 บาท
       
       7. บรรณาธิการนิตยสารชีวจิต ผิด พ.ร.บ.เครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2551 ข้อหาโฆษณาเครื่องมือแพทย์โดยไม่ได้รับอนุญาต ปรับ 37,500 บาท
       
       8. บรรณาธิการนิตยสาร FHM ผิด พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 ข้อหาโฆษณาคุณประโยชน์อาหารโดยไม่ได้รับอนุญาต ปรับ 1,000 บาท
       
       9. บรรณาธิการนิตยสาร Ceci Thailand ผิด พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 ข้อหาโฆษณาคุณประโยชน์อาหารโดยไม่ได้รับอนุญาต ปรับ 1,000 บาท
       
       10. บรรณาธิการนิตยสาร ViVi ผิด พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 ข้อหาโฆษณาคุณประโยชน์อาหารโดยไม่ได้รับอนุญาต ปรับ 4,000 บาท
       
       11. บรรณาธิการนิตยสารทีวีพูล ผิด พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 ข้อหาโฆษณาคุณประโยชน์อาหารโดยไม่ได้รับอนุญาต ปรับ 5,000 บาท 2 ครั้ง
       
       และ 12. บรรณาธิการนิตยสารสุขภาพดี ผิด พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 ข้อหาโฆษณาคุณประโยชน์อาหารโดยไม่ได้รับอนุญาต ปรับ 10,000 บาท
       
       นอกจากนี้ อย. ยังมีการเปรียบเทียบปรับผู้ที่กระทำความผิดตามกฎหมายที่ อย. รับผิดชอบอีก 54 ราย แบ่งเป็น ผิด พ.ร.บ.ยา พ.ศ. 2510 จำนวน 12 ราย ผิด พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 จำนวน 32 ราย ผิด พ.ร.บ.เครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2551 จำนวน 6 ราย และ พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท พ.ศ. 2518 จำนวน 2 ราย อีกทั้ง ผิด พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 จำนวน 2 ราย ทั้งนี้ ส่วนใหญ่จะมีความผิดข้อหาโฆษณาฐานโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือสร้างความเข้าใจผิด
       
       ภก.ประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการ อย. กล่าวว่า จากการตรวจสอบตามสื่อสิ่งพิมพ์ รวมทั้งสื่อต่างๆ ยังพบว่ามีการกระทำผิดในการเผยแพร่การโฆษณาเกินจริง ทั้งอาหาร ยา และเครื่องสำอาง ซึ่งที่ผ่านมาก็มีการจับปรับมาโดยตลอด แต่โทษอาจน้อยจึงยังพบการกระทำผิดอีก ซึ่ง อย. มีการทำหนังสือเวียนแจ้งและกำชับทุกสื่อเสมอ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ อย. อยู่ระหว่างปรับแก้ พ.ร.บ.ยา พ.ศ. 2510 เพื่อให้มีการเพิ่มโทษมากขึ้น โดยเฉพาะการโฆษณาเกินจริง โฆษณาชวนเชื่อ ทำให้ผู้บริโภคหลงเชื่อนั้น เดิมทีจะมีเพียงโทษปรับเท่านั้น คือ ปรับไม่เกิน 100,000 บาท แต่ร่าง พ.ร.บ. ที่เสนอปรับแก้ใหม่นั้น จะเพิ่มโทษปรับไม่เกิน 10 เท่าแล้วแต่กรณี แต่จะมีโทษจำคุกด้วย ตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ซึ่งเดิมไม่มี โดยเชื่อว่าจะทำให้มีการเกรงกลัวมากขึ้น
       
       “การปรับแก้กฎหมายครั้งนี้ นอกจากจะเพิ่มโทษเพื่อให้เกรงกลัวกันแล้ว ยังเป็นการปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน อย่างการขึ้นทะเบียนยา เดิมไม่ได้กำหนดอายุว่า ขึ้นทะเบียนแล้วจะต้องมีการปรับปรุงอีกเมื่อไร เรียกว่าขึ้นทะเบียนครั้งเดียว ใช้ได้ตลอด แต่ล่าสุดร่างกฎหมายใหม่ได้ปรับเปลี่ยนเป็น ต้องมีการขึ้นทะเบียนยาทบทวนทุกๆ 5 ปี ซึ่งจะทำให้มีความทันสมัยมากขึ้น” ภก.ประพนธ์ กล่าว

ที่มา  http://www.manager.co.th/

.



Latest





เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ “นโยบายการใช้คุกกี้”   ยอมรับ   นโยบายการใช้คุกกี้ X