เหตุผลที่หุ้น'เฟซบุ๊ค'ไม่สมราคาคุย
2012-05-23 09:56:59
Advertisement
คลิก!!!

หุ้น"เฟซบุ๊ค"ร่วง 11% หลุดราคาจองในวันที่ 2 ของการเข้าเทรดในตลาด จุดคำถามว่าทำไมหุ้นที่น่าจะร้อนแรงที่สุดจึงไม่สมราคาคุย
ราคาหุ้นเฟซบุ๊คปิดตลาดร่วงลง 11% ในวันจันทร์ที่ผ่านมา (21 พ.ค.) อยู่ที่ 34.03 ดอลลาร์ ต่ำกว่าราคาไอพีโอที่ 38 ดอลลาร์ต่อหุ้น ทั้งที่เพิ่งเทรดเป็นวันที่ 2 ขณะที่ผลงานวันแรกก็ปิดสูงกว่าราคาจองไม่ถึง 1%
เกิดอะไรขึ้นกับหุ้นของยักษ์เครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ร้อนแรงที่สุดแห่งยุค ทำไมไม่หวือหวาสมฐานะไอพีโอใหญ่สุดในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี และใหญ่เป็นอันดับต้นๆ ของโลก
"ไทม์" ถอดบทเรียนการเป็นบริษัทมหาชนของเฟซบุ๊คที่ไม่ได้ราบรื่นอย่างที่คาด เหตุผลแรกเป็นเพราะราคาและจำนวนที่สูงเกินไป โดยในช่วงสัปดาห์แห่งการโร้ดโชว์มีกระแสตอบรับหุ้นไอพีโอของเฟซบุ๊คค่อนข้างมาก ทำให้ทั้งเฟซบุ๊คและผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ที่นำโดยมอร์แกน สแตนเลย์ ปรับเพิ่มราคาขายขึ้นไปอยู่ที่ 38 ดอลลาร์ จากเดิมที่ตั้งไว้ 28-35 ดอลลาร์ รวมทั้งเพิ่มจำนวนหุ้นขึ้นอีก 50 ล้านหุ้น เพื่อรองรับความต้องการที่ประเมินว่าน่าจะถล่มทลาย
อีกเหตุผลของอาการแผ่วตั้งแต่ออกตัว อาจมาจากความรับผิดชอบของผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ที่ต้องหนุนไอพีโอของเฟซบุ๊คในวันแรกที่เปิดซื้อขาย ซึ่งอาจทำให้เกิดความอุปสงค์แบบลวงๆ ที่บิดเบือนตลาด กระทั่งเมื่อหมดระยะปลอดภัยในอ้อมอกของมอร์แกน สแตนเลย์ ราคาจึงร่วงลง 11% เพราะตลาดสะท้อนราคาในระดับที่เป็นจริงที่ 34 ดอลลาร์ หรือมีมูลค่าตามราคาตลาดลดต่ำกว่าราคาจองราว 1 หมื่นล้านดอลลาร์ ส่วนราคาจะขยับไปทางไหนก็ขึ้นอยู่กับผลประกอบการของเฟซบุ๊คนับจากนี้
"ไมเคิล แพชเตอร์" นักวิเคราะห์จากเวดบุช ซิเคียวริตี้ส์ ระบุกับวอลล์สตรีท เจอร์นัล ว่า จำนวนไอพีโอของเฟซบุ๊คน่าจะลดลงครึ่งหนึ่ง อาจจะทำให้ราคาปิดที่ 45 ดอลลาร์ พร้อมทั้งประเมินว่า ราคาหุ้นเฟซบุ๊คอาจไต่ไปถึง 44 ดอลลาร์ ภายใน 12 เดือนข้างหน้า แต่ขึ้นอยู่กับโมเดลธุรกิจของเฟซบุ๊คด้วย
นอกจากนี้ ระบบการเงินพื้นฐานของเฟซบุ๊คก็ไม่ได้สนับสนุนมูลค่าในปัจจุบัน ที่ประเมินมูลค่าตามราคาตลาดไว้ที่ 1.04 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งสูงเกินไป เป็นการคำนวณมูลค่าที่ไม่ได้อิงหลักวิทยาศาสตร์
แม้บริษัทจะทำกำไรได้ 1 พันล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว จากรายได้รวม 3.7 พันล้านดอลลาร์ แต่จากการประเมินของ "เฮนรี บล็อดเกต" นักวิเคราะห์ของวอลล์สตรีท พบว่า เฟซบุ๊คมีอัตราส่วนของราคาต่อกำไรสุทธิ หรือ P/E ที่ใช้ประเมินมูลค่าหุ้นสูงมากที่ 93 เท่า หรือหากใช้ P/E แบบที่มองไปข้างหน้า ก็ยังอยู่ที่ 40 เท่า แพงมากเมื่อเทียบกับ P/E แบบมองไปข้างหน้า ณ ปี 2556 ของบริษัทในกลุ่มเทคโนโลยีด้วยกัน โดย "แอปเปิล" อยู่ที่ 10 เท่า และ "กูเกิล" อยู่ที่ 12 เท่า
ประกอบกับ แนวโน้มกำไรของเฟซบุ๊คที่อาจผ่อนฝีเท้าลง รวมทั้งความสามารถในการทำเงินจากโฆษณาในระยะยาว ความท้าทายจากการต้องปรับแพลตฟอร์มให้รองรับการใช้งานจากสมาร์ทโฟน และท่าทีของ "มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก" ที่ให้ความสำคัญกับการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เพื่อสังคมก่อนผลกำไร ทำให้นักลงทุนต่างระมัดระวังที่จะซื้อหุ้น
อีกเหตุผล คือ ตลาดหุ้นแนสแดคที่ไม่ค่อยได้ทำไอพีโอระดับบิ๊กๆ แต่ครั้งนี้กลับคว้าชิ้นปลามัน ซึ่งพอเอาเข้าจริงก็เกิดปัญหาที่ระบบ ทำให้การสั่งซื้อขายล่าช้า และเป็นสาเหตุให้นักลงทุนไม่สามารถซื้อขายเพิ่มเติมได้ จึงส่งผลต่อการออกตัวในวันแรก
งานนี้ แนสแดคเสียหน้าไม่น้อย แทนที่จะไปได้สวยกับไอพีโอครั้งประวัติศาสตร์ ซึ่งประธานแนสแดคกล่าวโทษการออกแบบซอฟต์แวร์ซื้อขายที่ไม่ดีพอ ซึ่งความบกพร่องดังกล่าวกระทบต่อโมเมนตัมของหุ้นเฟซบุ๊ค
น่าสังเกตว่า สิ่งที่เกิดขึ้นกับเฟซบุ๊คได้เพิ่มแรงกดดันต่อเว็บเครือข่ายสังคมที่เตรียมแต่งตัวเข้าตลาดหลังจากนี้
รอยเตอร์ส ระบุว่า บริษัทเครือข่ายสังคมใดๆ ที่มีแผนจะออกหุ้นไอพีโอ อาจจะต้องคิดแล้วคิดอีก เพราะเมื่อดูจากกรณีของ "แพนโดรา มีเดีย อิงค์" และ "ซิงก้า" ที่ทำไอพีโอเมื่อปีที่แล้ว ถึงแม้จะออกตัววันแรกๆ ได้อย่างโดดเด่น แต่ราคาหุ้นก็ค่อยๆ ลดลงต่ำกว่าราคาไอพีโอ
โดยเฉพาะกรณีของ "ทวิตเตอร์" บริการไมโครบล็อกยอดฮิต ซึ่งเป็นที่จับตามอง หลายคนประเมินว่าทวิตเตอร์น่าจะทุ่มเทความพยายามเสนอขายหุ้นไอพีโอในปีหน้า หรือไม่ก็ต้นปี 2557
ข้อมูลจาก
http://www.bangkokbiznews.com
onlyfans leaked xxx onlyfans leaked videos xnxx 2022 filme porno filme porno
.



Latest





เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ “นโยบายการใช้คุกกี้”   ยอมรับ   นโยบายการใช้คุกกี้ X