เรื่องใกล้ตัวทำหูคนยุคใหม่ป่วย
2012-10-20 15:00:15
Advertisement
คลิก!!!



เรื่องใกล้ตัวทำหูคนยุคใหม่ป่วย (ชีวจิต)

          ศาสตราจารย์ เกียรติคุณแพทย์หญิงสุจิตรา ประสานสุข ที่ปรึกษาอาวุโสศูนย์โสตประสาทการได้ยินกรุงเทพฯ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เล่าถึงสาเหตุที่ทำให้คนสมัยนี้เป็นโรคเกี่ยวกับหูกันมากขึ้น คุณหมอมีคำอธิบายค่ะ

1.การดำน้ำ 

          การ ดำน้ำทำให้ออกซิเจนและเลือดไปเลี้ยงหูชั้นในน้อยลง ซึ่งในหูชั้นในจะมีอวัยวะเกี่ยวกับการทรงตัวอยู่ เมื่อเลือดหรือออกซิเจนไปเลี้ยงไม่พอ อวัยวะเหล่านั้นก็ทำงานได้น้อยลงหรือไม่ทำงานเลย ก่อให้เกิดอาการ เวียนหัว บ้านหมุน

           สอง คือ ร่างกายไม่สามารถปรับความดันในหูได้ เพราะการดำน้ำทำให้ความดันในหูเปลี่ยนแปลง เมื่อความดันภายในช่องหูต่างจากความดันภายนอก จึงรู้สึกหูอื้อและปวดหู

           สุด ท้ายคือ ขี้หูอมน้ำ ซึ่งปัจจัยนี้เกิดกับคนที่ว่ายน้ำด้วย เพราะขี้หูคนเรามีส่วนประกอบส่วนใหญ่ที่ไม่ละลายน้ำ และส่วนน้อยที่ละลายน้ำได้ปะปนกัน เมื่อโดนน้ำจึงทำให้ขี้หูพองตัวในรูหู ทำให้ได้ยินเสียงไม่ชัดและอาจมีอาการคันด้วย ซึ่งตรงกับอาการที่ฉันเป็นตอนนี้ คนที่ว่ายน้ำก็อาจมีอาการนี้ด้วยเช่นกัน

 วิธีป้องกันเบื้องต้น

           ผู้ ที่ดำน้ำได้จะต้องไม่มีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้มาก่อน โดยเฉพาะโรคภูมิแพ้อากาศและหอบหืด เพราะระบบท่อระบายอากาศในหูชั้นกลางของผู้ที่มีอาการดังกล่าวทำงานไม่ดี หากไปดำน้ำ เยื่อบุผนังท่อระบายอากาศในหูชั้นกลางอาจบวม ส่งผลให้ระบบการปรับความดันในหูไม่ดี

           ผู้ที่เพิ่งเดินทางลงจากเครื่องบินไม่ควรดำน้ำในทันที เพราะหูยังปรับความดันไม่ได้ ควรรอประมาณ 1-2 วัน จึงจะดำน้ำได้ 

           ใส่ ที่อุดหูสำหรับว่ายน้ำเพื่อป้องกันน้ำเข้าหู และใช้คอตตอนบัทซับน้ำบริเวณใบหูรอบนอกเท่านั้น หากขึ้นจากน้ำแล้วมีอาการหูอื้อ หรือหูดับ (สูญเสียการได้ยินเสียงแบบฉับพลัน) ต้องรีบพบแพทย์ทันที ส่วนการรักษาอาการของฉันนั้นไม่ยาก เพียงแค่ดูดเอาขี้หูออกเท่านั้น

2. หูฟังเครื่องเล่นเสียงพกพา 

          คุณ หมอบอกว่า เดี๋ยวนี้มีคนหูเสื่อมจากการฟังเสียงผ่านหูฟังกันมากขึ้น โดยเฉพาะวัยรุ่นทั้งที่เด็กกลุ่มนี้อาจไม่เคยเข้าผับ แต่ก็ป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับการได้ยินกันมาก ซึ่งมีสาเหตุได้หลายอย่างดังนี้

           เซลล์ ประสาทหูและเซลล์ขนในหูถูกทำลาย เพราะการใส่หูฟังเข้าไปในรูหูซึ่งใกล้กับหูมาก ก่อให้เกิดความดันของคลื่นเสียง ซึ่งจะเข้าไปทำปฏิกิริยากับแก้วหูโดยตรง และทำลายเซลล์ประสาทหูและเซลล์ขนในหู จึงทำให้สูญเสียการได้ยินบางส่วนหรือถึงขั้นหูดับ

           ประสาท รับเสียงเสื่อม เกิดจากความผิดปกติของกระแสไฟฟ้าในหู ส่งผลให้เกิดเสียงรบกวนในหู เช่น เสียงแมงหวี่ร้อง เสียงวิทยุจูนผิดคลื่นตลอดเวลา หรืออาจเป็นเสียงอื่น ๆ ได้อีกมากมาย

           เชื้อ โรคในหูฟัง นอกจากหูฟังจะเป็นแหล่งกำเนิดเสียงดังที่เป็นอันตรายแล้ว ยังเป็นแหล่งสะสมเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อโรคอื่นที่ทำให้เกิดโรคในหูมากมาย อาทิ หนองในหู หรือเกิดการอักเสบในช่องหูได้


 วิธีป้องกันเบื้องต้น


           ควรเปิดเครื่องเล่นเสียงให้มีระดับความดังแค่ครึ่งเดียว ของระดับเสียงที่เครื่องมีอยู่

           ฟังเพลงในเวลาที่เหมาะสมเท่านั้น เพื่อให้หูได้หยุดพักการใช้งานบ้าง

           ไม่ควรใช้หูฟังร่วมกับคนอื่น เพราะอาจติดเชื้อโรคได้ และควรเปลี่ยนฟองน้ำหูฟัง หรือทำความสะอาดเป็นประจำ

3.โทรศัพท์มือถือ 

          คุณหมอบอกว่าโทรศัพท์มือถือเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ระบบหู และการได้ยินของคนยุคใหม่เสื่อมมากขึ้น โดยมีสาเหตุจาก

           เชื้อ โรคในหูลุกลามจากความร้อน เพราะปกติในหูคนเราจะมีเชื้อโรคอยู่บ้าง แต่ก็มีขี้หูและผิวหนังที่ช่วยป้องกันไว้ แต่เมื่อโดนความร้อนจากการใช้โทรศัพท์มือถือ ประกอบกับการใช้มือเขี่ย หรือเกา จนทำให้ผิวหนังถลอก เท่ากับขาดปราการป้องกันเชื้อโรค จึงทำให้เชื้อโรคเติบโตได้ดีและเกิดอาการอักเสบ เช่น

           มีสิวในหู หรือมีอาการอักเสบเป็นฝี หูบวมแดง คัน และมีน้ำเหลืองไหล

           คลื่น แม่เหล็กไฟฟ้าทำลายประสาทหู คลื่นที่ออกจากมือถือคือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เมื่อใช้โทรศัพท์นาน ๆ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะส่งผลต่อระบบการทำงานของคลื่นไฟฟ้า และอิเล็คโตรไลท์ในหู นอกจากนี้ยังทำให้โมเลกุลในหูเกิดความสั่นสะเทือนจนทำให้หูร้อน หากมีพฤติกรรมเช่นนี้ประจำ จะทำให้เส้นประสาทในหูถูกทำลายได้ จนได้ยินเสียงต่าง ๆ น้อยลง

 วิธีป้องกันเบื้องต้น

           ใช้อุปกรณ์เสริมในการใช้โทรศัพท์ เช่น หูฟัง (Small Talk) หรือ บลูทูธ (Bluetooth)เพื่อหลีกเลี่ยงคลื่นเสียงและความร้อนโดยตรง

           เช็ดทำความสะอาดโทรศัพท์ด้วยแอลกฮอล์ และใช้โทรศัพท์มือถือเท่าที่จำเป็น

4. การพักผ่อนไม่เพียงพอ 

          คุณหมอเล่าให้ฟังว่า การพักผ่อนมีความสำคัญต่อหูในส่วนที่เกี่ยวกับการทรงตัว การพักผ่อนนั้นมีความสำคัญต่อระบบการทรงตัวเพราะ

          การพักผ่อนน้อยส่งผลให้การไหลเวียนของกระแสเลือดไม่ดี โดยเฉพาะหูชั้นในนั้นต้องการเลือดมาเลี้ยงมาก หากขาดเลือดจะทำให้น้ำในหูชั้นในเสียสมดุล ซึ่งน้ำในหูนี่เองที่เป็นตัวหล่อเลี้ยงเซลล์ประสาท ที่ควบคุมระบบการทรงตัว เมื่อน้ำในหูทั้งสองข้างไม่เท่ากัน ข้างหนึ่งทำงานมาก อีกข้างหนึ่งทำงานน้อย จะเกิดความผิดปกติของระบบการทรงตัวในที่สุด

          นอกจากนี้อาการน้ำในหูไม่เท่ากันที่เกิดจากการพักผ่อนน้อย ยังส่งผลให้เกิดอาการเวียนหัว บ้านหมุนเฉียบพลัน คลื่นไส้ อาเจียน โดยจะมีอาการนานเป็นชั่วโมง แต่ไม่เกิน 24 ชั่วโมง แต่การเวียนหัวบ้านหมุนอาจไม่ได้เกิดจากกรณีน้ำในหูไม่เท่ากันเสมอไป ซึ่งต้องสังเกตให้ดีเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง

          วิธีสังเกตว่าการเวียนหัวเกิดจากความผิดปกติของระบบส่วนใดในหู สังเกตได้จาก ถ้าอาการเวียนหัวเกิดทุกครั้งเมื่อเคลื่อนไหวศีรษะ ก็มีสาเหตุมาจากน้ำในหูไม่เท่ากัน แต่หากเวียนหัวเฉพาะเมื่ออยู่ในท่าใดท่าหนึ่ง หรือเอียงหัวไปข้างใดข้างหนึ่งเท่านั้น ถือว่าเป็นความผิดปกติของก้อนหินปูนในหูชั้นใน หรือเรียกว่าโรคหินปูนในหูหลุด ซึ่งเป็นโรคเกี่ยวกับหูที่พบได้บ่อยเช่นเดียวกัน

 วิธีป้องกันเบื้องต้น

           การป้องกันเบื้องต้นที่ดีที่สุดคือการพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียด เพื่อให้ระบบไหลเวียนของเลือดทำงานได้ดี

           ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และไม่ควรกินอาหารไขมันสูง เพื่อป้องกันโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด ซึ่งส่งผลต่อการทำงานของหูชั้นในได้

5. ยาบางชนิด

          อีกปัจจัยหนึ่งที่คุณหมอบอกว่าคนทั่วไปมักมองข้ามนั่นก็คือ การกินยาบางชนิด เพราะสารเคมีในยาส่งผลต่อเส้นประสาทหู แต่ก็เป็นยาเพียงบางชนิดเท่านั้น และส่วนใหญ่จะเป็นยาที่แพทย์สั่ง ประเภทยาที่มีผลกระทบต่อหูให้ฟังดังนี้

           ยา ปฏิชีวนะ เช่น ยาฆ่าเชื้อโรคหรือยาต้านเชื้อแบคทีเรียกลุ่มที่เรียกว่า อะมิโนไกลโคไซด์ เช่น เจนตามัยซินเจนตามิซิน (gentamicin) กานามัยซิน (kanamycin) หรือ อะมิกาซิน (amikacin) ยากลุ่มนี้จะมีผลทำให้เส้นประสาทหูเสื่อม และทำให้การได้ยินเสียงลดลง

           ยารักษาโรคบางชนิด เช่น ยารักษาโรควัณโรค ยารักษาเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ยารักษาโรคมาลาเรียเหล่านี้ส่งผลให้ประสาทหูเสื่อมเช่นเดียวกัน

 วิธีป้องกันเบื้องต้น

           ผู้ป่วยที่ต้องฉีดยาหรือกินยาชนิดดังกล่าวเป็นประจำ ต้องคอยสังเกตตัวเองว่า มีอาการได้ยินเสียงน้อยลงหรือไม่ เพื่อรักษาได้ทันท่วงที

           หากมีอาการเกี่ยวกับหูไม่ควรซื้อยาแก้อักเสบ หรือยาฆ่าเชื้อกินเอง เพราะอาจทำอันตรายต่อประสาทหูจนหูดับเลยก็ได้

6. มลภาวะทางอากาศ 

          ไม่ เชื่อก็ต้องเชื่อว่า ปัจจัยที่สุดแสนใกล้ตัวอย่างมลภาวะทางอากาศจะทำให้โรคหูน้ำหนวก โรคที่หาได้ยากในปัจจุบันกลับมาเล่นงานคนในยุคนี้อีกครั้ง

          สิ่งแปลกปลอมในอากาศ เช่น ฝุ่นละออง และควันรถ คือตัวการทำให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคภูมิแพ้หรือเป็นหวัดบ่อย หากปล่อยให้โรคลุกลามจนเกิดการอักเสบหลังโพรงจมูกและคอ เชื้อโรคก็จะเดินทางจากหลังโพรงจมูกมาที่หู และเกิดเป็นโรคหูน้ำหนวกในที่สุด

 วิธีป้องกันเบื้องต้น

           รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง เพื่อป้องกันอาการหวัด 

           ผู้ ป่วยโรคภูมิแพ้หรือหวัดเรื้อรังต้องคอยสังเกตตัวเอง หากเป็นหวัด แล้วมีของเหลวลักษณะเหมือนเลือดผสมหนองไหลจากรูหู และมีอาการปวดหูร่วมด้วยให้รีบไปหาคุณหมอ เพราะแก้วหูอาจอักเสบจนถึงขั้นทะลุแล้วก็ได้

 

 

ข้อมูลจากกระปุกดอทคอม

.



Latest





เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ “นโยบายการใช้คุกกี้”   ยอมรับ   นโยบายการใช้คุกกี้ X