ผอมก็เป็นเบาหวานได้
2012-09-04 12:56:41
Advertisement
คลิก!!!
เบาหวาน


ผอมก็เป็นเบาหวานได้ (Momypedia)
โดย : โรส มารี

ใครบอกว่าคนอ้วนเท่านั้น ถึงจะเป็นเบาหวาน !!

เบาหวาน เป็นภาวะไม่สมดุลของฮอร์โมนอินซูลินที่ควบคุมระดับน้ำตาลในร่างกาย ทำให้ร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลได้เต็มที่ น้ำตาลที่มีอยู่จึงเข้าไปสู่กระแสเลือดในระดับสูงผิดปกติ ทำให้เกิดอาการผิดปกติตามมามากมาย

เพราะฉะนั้นถ้ามีเหตุอะไรก็ตามที่ทำให้อินซูลินอยู่ในภาวะไม่สมดุล เช่น ตับอ่อนซึ่งผลิตอินซูลินทำงานไม่ดี ก็จะทำให้เราเป็นเบาหวานได้โดยไม่จำเป็นต้องอ้วน

ถ้าเราไม่ได้อ้วน แต่มีพ่อแม่หรือญาติโกโหติกาเป็นเบาหวาน หรือใช้ยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์ ยาขับปัสสาวะ ยาคุมกำเนิด เป็นประจำ ซึ่งจะทำให้ร่างกายมีการสร้างน้ำตาลมากขึ้น หรือตอบสนองต่ออินซูลินไม่ดี

หรือเราอายุมากขึ้น ตับอ่อนทำงานไม่ดี ทำให้มีการสังเคราะห์อินซูลินได้น้อยลง หรือไปติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น หัด หัดเยอรมัน คางทูม ที่มีผลต่อตับอ่อน รวมถึงตั้งครรภ์บ่อย ซึ่งร่างกายในช่วงนั้นมีการสร้างฮอร์โมนจากรกหลายชนิด มีผลยับยั้งการทำงานของอินซูลิน ...

เหล่านี้ละค่ะที่ทำให้คนไม่อ้วน มีโอกาสเป็นเบาหวานได้เหมือนกัน

เบาหวานทำให้ผอม

หรือบางทีคนที่เป็นเบาหวานก็ผอมลงได้ด้วยค่ะ เนื่องจากร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลมาเผาผลาญเป็นพลังงาน จึงหันมาเผาผลาญกล้ามเนื้อและไขมันแทน ทำให้คนเป็นเบาหวานผอมลง ไม่มีไขมัน กล้ามเนื้อฝ่อลีบ อ่อนเปลี้ย เพลียแรง

อาการอื่นก็มี รู้สึกกระหายน้ำบ่อย ดื่มน้ำมากกว่าปกติ เพราะเมื่อเกิดการคั่งของน้ำตาลในเลือดและอวัยวะต่าง ๆ ไตก็จะกรองน้ำตาลออกมาทางปัสสาวะ เราจะปัสสาวะบ่อย และมาก เนื่องจากน้ำตาลที่ออกมาทางไตดึงเอาน้ำออกมาด้วย ทำให้คนเป็นเบาหวานรู้สึกหิวน้ำบ่อย

อาการข้างเคียงเพียบ !

ถ้าปล่อยให้ร่างกายเผชิญกับเบาหวานนาน ๆ มันจะพานมีผลให้ระบบอื่น ๆ ในร่างกายพลอยเสื่อมไปด้วย

อย่างแรกคือไต เพราะไตจะทำงานหนักในการขับน้ำตาลออกจากร่างกาย จะมีอาการบวม ซีด

หลอดเลือดแดงตีบตัน เพราะน้ำตาลไปจับตัวที่ผนังหลอดเลือด ทำให้มีอาการชาที่ขา ปวดกล้ามเนื้อขา มีแผลเรื้อรังที่เท้า ปวดปลายนิ้วเท้าในตอนกลางคืน เป็นโรคหัวใจ ความดันผิดปกติ เกิดอาการวิงเวียน

ตาบอด เพราะปลายประสาทตาอักเสบ

ติดเชื้อง่าย ทำให้เป็นกรวยไตอักเสบ เป็นแผลเรื้อรัง

ฟังแล้วน่ากลัวใช่ไหมคะ ไม่เป็นไรค่ะ หากเราดูแลรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้ปกติในวันนี้ จะช่วยลดอาการแทรกซ้อนใน 5-10 ข้างหน้า


การตรวจวัดระดับน้ำตาลในร่างกาย

การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ จะทำให้เรารู้สภาพร่างกายของเราเอง และดูแลควบคุมไม่ให้ระดับน้ำตาลสูงหรือต่ำเกินไป เป็นขั้นแรกของการรักษาเบาหวานค่ะ

ถ้าตรวจวัดแล้ว มีระดับน้ำตาลในเลือด 140-200 มก.ต่อเลือด 100 มล.ถือว่าเป็นไม่มากค่ะ (ในคนปกติ จะมีค่า 60-120 มก.ต่อเลือด 100 มก.) อาจไม่มีอาการผิดปกติให้เห็น

ในรายที่มีระดับน้ำตาลสูงกว่านั้นจะมีอาการให้เห็น เช่น สังเกตได้ว่า ปัสสาวะบ่อยและออกมาครั้งละมาก ๆ กระหายน้ำบ่อย ๆ ดื่มน้ำมาก กินข้าวจุ อ่อนเปลี้ยเพลียแรง ฉี่มีมดขึ้น (ไม่เชื่อชิมดู...ฉี่จะหวาน เพราะน้ำตาลออกมาทางปัสสาวะ )

ดังนั้น การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดถ้าพบว่ามีตัวเลขมีค่าสูงเท่าใด ก็แสดงว่าอาการของโรครุนแรงเท่านั้น

ต้องดูแลตัวเองอย่างสม่ำเสมอ

เบาหวาน เป็นโรคเรื้อรัง ต้องรักษาติดต่อกันเป็นเวลานานหรือเรื่อยไป ผู้ป่วยบางคนเข้าใจว่าหมอที่ตัวรักษาอยู่ไม่เก่ง ไม่หายขาดสักที จึงเปลี่ยนหมอไปเรื่อย ๆ ทำให้การรักษาไม่ต่อเนื่อง หรือบางคนอาจจะหันไปพึ่งยาหม้อ สมุนไพรแทน ซึ่งอาจจะมีสเตียรอยด์

ทางที่ดีไม่ควรเปลี่ยนหมอที่ดูแลรักษา ตรวจวัดระดับน้ำตาลเป็นประจำ แล้วก็ต้องดูแลตัวเองในวิถีชีวิตประจำวันอย่างดีด้วย ขอแนะนำว่า...

กินอาหารให้ตรงเวลา ไม่เช่นนั้นอาจมีอาการใจสั่น วิงเวียน เพราะร่างกายขาดน้ำตาล

ห้ามกินของหวานมาก ทั้งขนมและผลไม้ที่มีรสหวานจัด ใช้น้ำตาลเทียมแทน

งดเหล้า เบียร์ เครื่องดื่มบำรุงกำลัง น้ำอัดลม เพราะมีน้ำตาลมาก

งดบุหรี่ เพราะจะทำให้ผนังหลอดเลือดแดงแข็งเร็วขึ้น

หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม และอาหารสำเร็จรูป เช่น ไส้กรอก กุนเชียง เพราะจะทำให้ไตทำงานหนักขึ้น

อย่ากินข้าวหรืออาหารประเภทแป้งมาก กินผักใบเขียวมาก ๆ

ออกกำลังกายสม่ำเสมอ แต่อย่าหักโหม

พักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงความเครียด วิตกกังวล

ตรวจวัดระดับน้ำตาลเดือนละครั้ง


...ถึงไม่หายขาด แต่ก็ทำให้อยู่ดีมีสุข ไม่ลุกลามไปโรคอื่น ๆ ได้ค่ะ

ข้อมูลจากกระปุกดอดคอม

onlyfans leaked xxx onlyfans leaked videos xnxx 2022 filme porno filme porno
.



Latest





เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ “นโยบายการใช้คุกกี้”   ยอมรับ   นโยบายการใช้คุกกี้ X