เมื่อเร็ว ๆ นี้ ผู้เชี่ยวชาญได้วิเคราะห์ว่า “กลุ่มแฟนด้อมหลัก” เป็นตัวบ่งชี้สำคัญในการวัดความยั่งยืนของการขยายฐาน K-pop รวมถึงเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนบริษัทด้านความบันเทิงให้ประสบความสำเร็จ
คลิก!!! |
เมื่อวันที่ 5 มกราคมที่ผ่านมา IBK Investments & Securities ได้เผยแพร่รายงานที่ระบุว่า “กลุ่มแฟนด้อมหลัก” เป็นตัวบ่งชี้เพื่อวัดความยั่งยืนของการแพร่กระจายของ K-pop โดย “กลุ่มแฟนด้อมหลัก” หมายถึงฐานแฟนเพลงที่ภักดีซึ่งซื้ออัลบั้มหรือไปดูคอนเสิร์ตอย่างต่อเนื่อง พวกเขาถูกมองว่าเป็นรากฐานสำหรับการเติบโตของอุตสาหกรรมและหน่วยงานด้านความบันเทิงเนื่องจากเป็นแหล่งรายได้ที่มั่นคง
IBK Investments & Securities ได้ประมาณจำนวนแฟนด้อมหลักสำหรับแต่ละบริษัทบันเทิงยักษ์ใหญ่ซึ่งได้แก่ SM Entertainment, JYP Entertainment, YG Entertainment และ HYBE ในรายงานแสดงให้เห็นว่าศิลปินของ HYBE มีแฟนด้อมหลักมากที่สุด โดยมีจำนวน 1.6 ล้านคน อันดับที่ 2 ตกเป็นของ SM Entertainment ที่มี 760,000 คน ตามด้วย JYP Entertainment ที่มี 640,000 คน และ YG Entertainment ที่มี 420,000 คน
จะเห็นได้ว่าวง BTS เป็นผู้สนับสนุนอันดับ 1 ในการทำให้ HYBE เป็นที่หนึ่งโดยมีกลุ่มแฟนด้อมหลักมากที่สุด โดยวงนี้มีแฟนด้อมหลักมากกว่า 700,000 คน (จากจำนวนแฟนด้อมหลักวงอื่น ๆ ในสังกัดเดียวกัน)
IBK อธิบายว่า “เป็นเรื่องง่ายที่จะหาข้อสรุปเมื่อพิจารณาเฉพาะตัวบ่งชี้กิจกรรมปัจจุบัน (เช่น ยอดขายอัลบั้ม ผู้เข้าร่วมคอนเสิร์ต ผู้ติดตามโซเชียลมีเดีย ยอดวิว YouTube เป็นต้น) สำหรับคำถามสำคัญเกี่ยวกับความยั่งยืนของ K-pop คือเพราะมีแฟน ๆ ที่ซื้ออัลบั้มเดียวกันหลายร้อยชุดเพื่อสะสมโฟโต้การ์ดที่อยู่ในอัลบั้ม หรือเพื่อรับรางวัลกิจกรรมออฟไลน์ เช่น กิจกรรมแจกลายเซ็นเป็นต้น”
ในทางกลับกัน กลุ่มแฟนด้อมหลักมีความสำคัญเนื่องจากเป็นผู้สนับสนุนแหล่งรายได้หลักของเอเจนซี่โดยตรง เช่น การซื้ออัลบั้ม ตั๋วคอนเสิร์ต สินค้า และคอนเท้นท์อื่น ๆ IBK อธิบายเพิ่มเติมว่า “ไม่เหมือนกับกลุ่มแฟนด้อมหลัก ประชาชนทั่วไปมีส่วนสนับสนุนในทางอ้อมสูง เช่น การบริโภคเพลงของศิลปินผ่านบริการสตรีมมิ่ง และเพิ่มการรับรู้ทรัพย์สินทางปัญญาของศิลปิน”
นอกจากนี้ HYBE ไม่เพียงแต่มีกลุ่มแฟนด้อมหลักจำนวนมากที่สุดเท่านั้น แต่ยังครองอันดับ 1 ในบรรดาบริษัทบันเทิงยักษ์ใหญ่ 4 แห่งในแง่ของจำนวนเงินที่แฟน ๆ แต่ละคนใช้จ่ายเพื่อศิลปินอีกด้วย
การส่งออกอัลบั้มเคป๊อปไปทั่วโลกเติบโตอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 7 ปีนับตั้งแต่ปี 2015 ถึง 2021โดยเฉพาะอย่างยิ่งจำนวนกลุ่มแฟนเพลงหลักที่ซื้ออัลบั้มสูงที่สุดคือ ญี่ปุ่น จีน และสหรัฐอเมริกา
เมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว ญี่ปุ่น (38.4%) จีน (21.5%) และสหรัฐอเมริกา (16.2%) มีสัดส่วนมากกว่า 76% ของยอดขายทั่วโลก เกี่ยวกับเรื่องนี้ IBK อธิบายว่า “(ทั้งสามประเทศนี้) คาดว่าจะมีส่วนร่วมมากขึ้นในอนาคตเนื่องจากกำลังการบริโภคที่สูง”
จากข้อมูลของกรมศุลกากรเกาหลี ในปี 2015 จำนวนประเทศที่นำเข้าสินค้าเคป๊อปมีเพียง 51 ประเทศเท่านั้น แต่ภายเมื่อดูจากสิ้นปี 2021 มันกลับเพิ่มขึ้นถึงสามเท่าเป็น 148 ประเทศทั่วโลก
ที่มา naver