ล้วงลึก'เฟซบุ๊ค'โรดโชว์ก่อนเข้าตลาดหุ้น
2012-05-09 14:09:35
Advertisement
คลิก!!!

ล้วงลึก "เฟซบุ๊ค" ในวันโรดโชว์หุ้นไอพีโอ ก่อนเข้าตลาดหุ้น 18 พฤษภาคม "มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก" เตรียมอะไรมาขายนักลงทุน
วันที่ 7 พฤษภาคม "มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก" ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารเว็บเครือข่ายสังคมยอดฮิต "เฟซบุ๊ค" นำคณะผู้บริหารเดินสายโรดโชว์หุ้นไอพีโอ หรือหุ้นที่เสนอขายต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรก เพื่อเชิญชวนนักลงทุนสถาบัน ให้ซื้อหุ้น ก่อนเริ่มการซื้อขายในตลาดวันที่ 18 พฤษภาคม โดยมีนักลงทุนหลายร้อยคน ยืนเข้าแถวหน้าโรงแรมเชอราตันในนิวยอร์ก เพื่อรอฟังรายละเอียด เกี่ยวกับหุ้นไอพีโอจากซักเคอร์เบิร์
เฟซบุ๊ค กำหนดราคาขายหุ้นจำนวน 338 ล้านหุ้น ไว้ที่ระหว่าง 28-35 ดอลลาร์ต่อหุ้น จึงน่าจะระดมเงินได้ประมาณ 9.4 พันล้านดอลลาร์ ถึง 1.18 หมื่นล้านดอลลาร์ ในรูปของเงินสด และเป็นไปได้ที่จะทำให้มูลค่าบริษัทพุ่งแตะ 1 แสนล้านดอลลาร์
ประเมินกันว่า การทำไอพีโอของเฟซบุ๊ค ทิ้งห่าง "กูเกิล" ที่ทำไอพีโอในปี 2547 ระดมทุนได้ 1.66 พันล้านดอลลาร์ ขณะที่หลายคนคาดว่า ราคาอาจจะสูงกว่าที่บริษัทวางไว้ โดยอาจสูงกว่า 38 ดอลลาร์ต่อหุ้น ซึ่งจะทำให้ไอพีโอเฟซบุ๊ค มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 4 ในประวัติศาสตร์ ทำลายสถิติของ"ดอยช์ เทเลคอม" ที่เคยทำไว้ 1.3 หมื่นล้านดอลลาร์ เมื่อปี 2539 โดยราคาหุ้นไอพีโอเฟซบุ๊ค น่าจะเคาะสุดท้ายในวันที่ 17 พฤษภาคม
"การ์เดี้ยน" วิเคราะห์ว่า เฟซบุ๊ค กำลังเปิดตัวสู่สายตาสาธารณะ หลังจากปล่อยให้ผู้คนคาดเดาเกี่ยวกับการเงินและการดำเนินงานตลอดหลายปีที่ผ่านมา บริษัทเตรียมโมเดลโฆษณาที่อิงจากข้อมูลความสนใจของผู้คนที่มีมหาศาล ผ่านประวัติส่วนตัว การอัพเดทเรื่องราว และเชื่อมโยงกับคนอื่นๆ จากผู้ใช้ที่มีจำนวนมากถึง 900 ล้านคนทั่วโลก
ในไตรมาส 4 ปี 2554 เฟซบุ๊ค มีรายได้สุทธิ 302 ล้านดอลลาร์ จากทั้งหมด 1.13 พันล้านดอลลาร์ แต่ลดลงอยู่ที่ 205 ล้านดอลลาร์ ในไตรมาสแรกของปีนี้ เพราะโหมทำการตลาดมากขึ้น
ตัวเลขน่าสนใจเบื้องหลังอาณาจักรแสนล้าน ผู้ใช้เฟซบุ๊คราว 900 ล้านคน มีการเชื่อมโยงติดต่อ 1.25 แสนล้านครั้ง หรือเฉลี่ยคนละ 139 ครั้ง ส่วนปุ่ม "ไลค์" มีคนคลิก 2 พันล้านครั้งต่อวัน ขณะที่สมาชิกกว่าครึ่ง หรือราว 526 ล้านคน เข้าใช้งานเฟซบุ๊คทุกวัน โดยราว 488 ล้านคน เชื่อมต่อผ่านอุปกรณ์พกพาอย่างน้อยเดือนละครั้ง และในบรรดาสาวก ที่ใช้งานเป็นประจำทุกวัน 152 ล้านคนอยู่ในยุโรป ส่วนอีก 129 ล้านคนอยู่ในสหรัฐและแคนาดา
โฆษณาที่อาจทำเงินมหาศาลให้เฟซบุ๊ค มาจากเป้าหมายเรื่องข้อมูลอายุ ความสนใจ หรือพิกัดที่อยู่ ซึ่งเฟซบุ๊ค มีกล่องดำสำหรับเก็บข้อมูล แต่ไม่ได้ขายข้อมูลเหล่านี้
ในวิดีโอที่นำเสนอระหว่างงานโรดโชว์ ระบุว่า เฟซบุ๊ค มีรายได้โฆษณาปีละราว 4.34 ดอลลาร์ต่อผู้ใช้ 1 คน แยกเป็นสหรัฐที่รายได้โฆษณาเฉลี่ยอยู่ที่ 9.51 ดอลลาร์ต่อผู้ใช้ 1 คน ยุโรป 4.86 ดอลลาร์ เอเชีย 1.79 ดอลลาร์ และส่วนอื่นๆ ในโลก 1.42 ดอลลาร์ โดยรายได้จากโฆษณามีสัดส่วน 82% ของรายได้ทั้งหมดของบริษัท ส่วนอีก 18% มาจากการชำระเงิน เช่น การซื้อสัตว์เลี้ยงในเกมฟาร์มวิลล์ของค่ายซิงก้า
จีน นับเป็นรางวัลสำคัญของเฟซบุ๊ค เพราะเป็นตลาดที่มีจำนวนนักท่องเน็ตมากสุดในโลก แต่เฟซบุ๊ค ยังเป็นของต้องห้ามในแดนมังกร ซึ่งซักเคอร์เบิร์ก พยายามจูนกับทางการปักกิ่ง และจากประสบการณ์ของกูเกิลชี้ว่า การประนีประนอม เป็นสิ่งจำเป็น แต่ถึงแม้เฟซบุ๊ค จะขยับเข้าไปสู่ตลาดจีนได้ ประเด็นเรื่องการเซ็นเซอร์ ก็อาจส่งผลต่อบริษัท จึงต้องจับตาการตัดสินใจเรื่องนี้ ซึ่งอยู่ที่ซักเคอร์เบิร์ก เพราะเขามีหุ้น 23.5% และถือหุ้นที่มีสิทธิออกเสียง 57.3% เหมือนอย่างข้อตกลงซื้อ "อินสตาแกรม" ที่มาจากการตัดสินใจของเขา
น่าสนใจว่า ประเด็นท้าทายที่เฟซบุ๊คต้องเผชิญมี 2 เรื่อง คือ การขยายตัวของอุปกรณ์พกพา และเรื่องความเป็นส่วนตัว สำหรับเรื่องแรก โลกได้เปลี่ยนมาสู่ยุคแห่งโทรศัพท์มือถือ โดยเฉพาะสมาร์ทโฟน คาดกันว่าจำนวนผู้ใช้อุปกรณ์พกพา จะแซงหน้าเดสก์ทอปในปี 2556 แต่เฟซบุ๊ค ยังไม่สามารถทำเงินจากโฆษณาบนอุปกรณ์พกพาได้ ทั้งที่ 40% ของผู้ใช้เฟซบุ๊ค เข้าเว็บผ่านอุปกรณ์พกพาอย่างน้อยเดือนละครั้ง
ส่วนประเด็นเรื่องความเป็นส่วนตัว ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ใช้ และหน่วยงานรัฐกังวลมาตลอด 2-3 ปีนี้ โดยตัวเลขผู้ใช้เฟซบุ๊ค ที่ซ่อนข้อมูลอายุหรือที่อยู่เพิ่มจาก 12% ในปี 2553 เป็น 33% ในปี 2554 ขณะที่ข้อมูลจากคอนซูเมอร์ รีพอร์ตส ตั้งข้อสังเกตว่า ผู้ใช้ 13 ล้านราย อาจไม่เคยตั้งค่าความเป็นส่วนตัวเลย
"บิล เคอร์ริแกน" ประธานบริหารบริษัทเอไบน์ มองว่า ความสำเร็จทางการเงิน อาจเรียกร้องให้เฟซบุ๊ค รวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลมากขึ้น และพร้อมจะหยิบไปใช้
ข้อมูลจาก
http://www.bangkokbiznews.com
onlyfans leaked xxx onlyfans leaked videos xnxx 2022 filme porno filme porno
.



Latest





เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ “นโยบายการใช้คุกกี้”   ยอมรับ   นโยบายการใช้คุกกี้ X