ค่าตัวต่อตอนของเหล่าดาราบางส่วนที่แบกฮันรยูเอาไว้บนบ่าสูงกว่า 100 ล้านวอนโดยไม่รู้ตัว ในขณะที่สภาพแวดล้อมการถ่ายทำที่ตกต่ำของเหล่าทีมงาน ตรงกันข้ามกับค่าตัวของเหล่าดาราที่พุ่งขึ้นและไม่ลดลงง่ายๆ แม้จะอยู่ในสถานการณ์ที่การตอบรับของประเทศที่นำเข้าคอนเทนท์ฮันรยู เป็นหลัก เช่น ญี่ปุ่น, จีน ไม่เท่าเมื่อก่อน จึงเกิดเป็นความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
คลิก!!! |
นักแสดงชาย อีบยองฮอน (Lee Byung Hun) ที่หวนคืนจอแก้วในรอบ 9 ปี โดยรับบทเป็นพระเอกในละครเรื่อง 'Mr. Sunshine' ทางช่องเคเบิล tvN ที่จะออกอากาศตอนแรกในวันที่ 7 กรกฎาคมนี้ ทางสำนักข่าว The Munhwa Il-bo ได้ตรวจสอบพบว่า เขาได้รับค่าตัวต่อตอนประมาณ 150 ล้านวอน (ประมาณ 4.5ล้านบาท) เมื่อคำนึงถึงละครที่มีความยาว 24 ตอน เขาก็จะได้รับเงินค่าจ้างทั้งหมดประมาณ 3600 ล้านวอน (ประมาณ 107 ล้านบาท)
ค่าตัวของนักแสดงระดับฮันรยูสตาร์ ที่แสดงละครต่อตอนในปี 2018 นั้นไม่ธรรมดาเลยจริงๆ ปลายปี จะได้ชมงานของ Hyun Bin กับ Park Bo Gum อีกด้วยhttps://t.co/oV0E7XIH77 pic.twitter.com/lSZM5bRSdT
— Popcornfor2.com (@popcornfor2) July 3, 2018
วงการธุรกิจเปิดเผยว่า นอกเหนือจากอีบยองฮอนแล้ว ยังมีอีจงซอกที่ได้รับเงินค่าจ้างต่อละคร 1 ตอน ราวๆ 130-150 ล้านวอน ส่วนฮยอนบินและพัคโบกอมที่จะคัมแบ็คผลงานในช่วงปลายปีก็มีค่าตัวมากกว่า 100 ล้านวอนเช่นกัน
ค่าตัวของพวกเขาเหล่านี้ช่วยสร้างฮันรยูขึ้นมา หากดาราที่ได้รับความนิยมสูงเข้าร่วมแสดงในญี่ปุ่น, จีน เงินส่งออกก็จะเพิ่มขึ้นราวๆ 100-200 ล้านวอน ต่อตอน แถมด้วยค่ากำนัลในการว่าจ้างพวกเขาครั้งละหลักสิบล้านวอน แต่ถึงหนทางการส่งออกจะถูกขัดขวางจากคำสั่งห้ามของจีนและความเกลียดชังของญี่ปุ่น แต่ค่าตัวของเหล่าดาราก็ยากที่จะกลับลงมาที่จุดเดิม
เมื่อเร็วๆ นี้ ช่องโทรทัศน์ต่างๆ รวมถึงช่องจัดตารางรายการโทรทัศน์รวม ต่างก็สร้างละครและพยุงค่าตัวของพวกเขา แกนนำผู้สร้างละครคนหนึ่งกล่าวว่า
"ช่วงที่ช่องสาธารณะมีอำนาจมาก กรณีของละครเคเบิลเหมือนต้องจ่ายเงินค่าจ้างที่สูงขึ้นราวๆ 20-30% เพื่อให้ดารามาร่วมแสดง ช่วงนี้ค่าตัวของนักแสดงนำในละครช่องจัดตารางรายการโทรทัศน์รวมอยู่ที่ 60-70 ล้านวอน เพราะราคาเฉลี่ยในวงการธุรกิจเพิ่มขึ้น ทำให้ค่าตัวของเหล่าฮันรยูสตาร์ที่หายากมีแต่เพิ่มขึ้นเหมือนตำนานที่ไม่สามารถเปลี่ยนอะพาร์ตเมนต์ของเกาหลีใต้ได้"
แต่ก็มีการโต้แย้งว่า
"ก็เพราะมีคุณค่าถึงขนาดนั้นถึงต้องจ่าย"
กรณีของ 'Mr. Sunshine' ใช้ทุนสร้างราวๆ 43,000 ล้านวอน ซึ่งค่าตัวของอีบยองฮอนคิดเป็นประมาณ 8.5% ของทุนสร้างทั้งหมด ฝีมือการแสดงและการเป็นที่รู้จักในระดับโลกของเขาที่ได้เข้าร่วมแสดงในภาพยนตร์ฮอลลีวูดด้วย ก็ได้รับค่าตัวต่อตอนประมาณ 1,200,000 ดอลลาร์ และเมื่อคำนึงถึงผลกระทบต่อการส่งออกต่อ Netflix ก็ถือว่า "มากเกินไป" หากท็อปสตาร์เข้าร่วมแสดง นอกจากการส่งออกในต่างประเทศแล้ว ก็ยังจะมี PPL (โฆษณาแฝง), การสนับสนุนการสร้าง เข้ามาด้วย ซึ่งบรรดาบริษัทผู้สร้างต่างก็บอกเป็นเสียงเดียวกันว่าช่วยเหลืออย่างมากในอุปสงค์และอุปทานทุนสร้าง
ปัญหาก็คือความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ค่าตอบแทนของเหล่าทีมงานที่ทำงานด้วยกันในกองถ่ายละครกลับไร้ซึ่งสัญญาณของการปรับปรุง ถึงจะทำงานและได้นอนเพียง 2-3 ชั่วโมงต่อวัน แต่รายได้ที่ได้มาก็ไม่มากนัก ถึงสาขาคอนเทนท์วัฒนธรรม เช่น การออกอากาศ, ภาพยนตร์ จะได้รับการยกเว้นจากประเภทของงานเป็นกรณีพิเศษ และมีการใช้ระบบการทำงาน 52 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ตามกฎหมายแรงงานที่แก้ไขกำหนดใหม่เมื่อวันที่ 1 แต่ส่วนใหญ่ก็เป็นนักธุรกิจบุคคล ไม่ได้อยู่ในสังกัดสถานีวิทยุและโทรทัศน์ จึงมีหลายกรณีที่อยู่นอกเหนือกรอบของกฎหมาย ยิ่งไปกว่านั้นก็ยังมีความกังวลด้วยว่า หากจำกัดเวลาการทำงาน จะทำให้รายได้ลดลง
ตัวแทนบริษัทที่ใช้บริการคนภายนอกคนหนึ่งกล่าวว่า
"ความลำบากในการอดทนกับรายได้ที่น้อยและปริมาณงานที่มากเกินไป เปรียบเทียบเหมือนความรู้สึกถูกยึด หลายครั้งก็ทำให้รู้สึกว่าสูญเสียส่วนที่เหลือเพื่อนักแสดงชื่อดังไม่กี่คน"
ที่มา : Nate
แปลโดย : https://popcornfor2.com