ใช้คอมพิวเตอร์ประจำ ทำให้ปวดหัวบริเวณท้ายทอย...ทำไงดี??
2014-11-01 17:57:37
Advertisement
คลิก!!!

1. สังเกตท่าทางในการนั่งก่อนเลย ว่า คอยื่นไปจนหน้าเกือบจะชิดจอคอมพ์อยู่เกือบตลอดเวลาหรือไม่ ถ้าเป็นเช่นนั้น ให้แก้ไขก่อน โดยหมั่นสังเกตว่าเริ่มเกิดอาการตึงคอเมื่อไหร่ให้ เก็บคางไว้ อย่าให้หน้าเชิดมากนัก ถ้าเริ่มจะบังคับไม่ไหวมีมึนหัว ตึงต้นคอ ก็ควรพัก สัก5-10 นาที ในระหว่างพักก็ให้ออกกำลังคอเบา ๆ หันซ้าย ขวา เอียง ซ้าย ขวา หมุนไปมาและก้มเงย ในขณะทำก็อย่าลืมเก็บคางไว้อย่าเชิดมาก ทำให้ช้าที่สุดเท่าที่จะทำได้ ข้างละ 5-10 ครั้ง (ตามอาการ) อย่ารีบยืดกล้ามเนื้อคอทันที หลังนั่งหน้าคอมพ์นาน ๆ อาจทำให้บาดเจ็บได้ หลังออกกำลังเสร็จก็ ค่อย ๆ ยืดกล้ามเนื้อ คอ บ่า ไหล่ โดยทำท่าเหมือนที่ออกกำลังไปก่อนหน้านี้ แต่ให้คงการเคลื่อนไหวไว้ในท่าที่ทำประมาณ 5-7 วินาที (ตามแต่อาการตึงมากหรือน้อย) เช่น เอียงศรีษะไปด้านซ้าย ค้างไว้ จะทำให้กล้ามเนื้อคอด้านขวายืด แต่การยืดกล้ามเนื้อมัดอื่น ๆ นั้นแตกต่างกันไป หากไม่ไปพบนักกายภาพบำบัด หรือ ผู้มีความรู้เกี่ยวกับกล้ามเนื้อ และการออกกำลังโดยตรง ก็ต้องอาศัยการสังเกตของผู้ออกกำลังเอง * ควรระวังการยืดผิดวิธีอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บได้* ถ้าไม่แน่ใจกลัวว่าจะทำไม่ถูก ก็ไม่ควรทำ แต่สามารถใช้ฝ่ามือ ถูกกันให้อุ่น ๆ แล้ววางที่ต้นคอและบริเวณท้ายทอย โดยไม่ต้องนวด แต่ให้แรงกดบ้างเล็กน้อย ตามจุดที่มีอาการตึงและเมื่อย อย่างไรก็ดี ไม่ควรทำงานหน้าคอมพ์นานเกิน 3 ชั่วโมงต่อเนื่อง ถ้าเป็นไปได้ ควรพักสายตา และหาที่พิงหลัง+ต้นคอ ทุก 1- 1.5 ชั่วโมง

* ปล. ท่าทางในการออกกำลังสำหรับต้นคอ หรือ สำหรับผู้ทำงานหน้าคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ มีมากมายหลายท่า อาจค้นหาได้จาก เว็บอื่น ๆ แต่ให้ดีสุดควรได้รับการตรวจให้พบสาเหตุของปัญหาที่แท้จริงก่อน และให้ผู้รักษาสาธิตให้ฟัง และทดลองทำก่อนนำไปปฎิบัติจริงด้วยตนเอง**

2. ถ้าอาการไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาที่เหมาะสม เพราะอาจมีปัญหาที่กระดูกต้นคอชิ้นบน ๆ ที่ติดกับฐานกะโหลก หากมีอาการยึดติดจากการตึงตัวของกล้ามเนื้อ หรือการมีรูปร่างลักษณะคอผิดรูป ซึ่งอาจเกิดจากการมีท่าทางในการทำงานที่ไม่ถูกต้อง หากปล่อยให้เป็นอยู่นาน อาจทำให้มีอาการปวดศรีษะเรื้อรังได้ ร่วมกับเวียนหัว บ้านหมุน คลื่นไส้ ตาพร่ามัว เป็นต้น

การเอ็กซเรย์บางทีก็ไม่เห็นความผิดปกติ สุดแล้วแต่แพทย์จะพิจารณาให้ x-ray หรือไม่ (ตามแนวทางที่ควรเป็น การ x-ray จะช่วยให้เห็นลักษณะการวางตัวของกระดูกคอ ต่อช่วง อกและบ่า สามารถเป็นแนวทางในการตรวจประเมินทางกายภาพบำบัดได้บ้าง ตลอดจนมีประโยชน์ในการประเมินผลการรักษาในระยะยาว และอาจจะนำมาใช้แก้ไขปัญหาการมีความผิดปกติที่เกิดจากท่าทางการทำงานที่ไม่ถูกต้องได้)

 

 

ที่มา  http://siamdara.com/

 

.



Latest





เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ “นโยบายการใช้คุกกี้”   ยอมรับ   นโยบายการใช้คุกกี้ X