แอล-คาร์นิทีน L-Carnitine
2014-09-19 14:01:16
Advertisement
คลิก!!!

มีคุณสมบัติอย่างไร เราพบคาร์นิทีนมากในกล้ามเนื้อหัวใจและกล้ามเนื้อลาย ซึ่งจำเป็นต่อขบวนการเผาผลาญไขมัน โดยช่วยพาไขมันเข้าสู่ไมโตคอนเดรียของเซลล์ (Mitochondria ส่วนของเซลล์ที่ผลิตพลังงานให้แก่เซลล์) ผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจจะมีระดับของคาร์นิทีนต่ำ ซึ่งสมควรรับประทานคาร์นิทีนเสริม นอกจากนี้เรายังพบว่าการให้คาร์นิทีนเสริมจะช่วยป้องกันโอกาสเกิด ภาวะหัวใจล้มเหลวได้

 

คาร์นิทีนยังช่วยสลายไขมันซึ่งเป็นแหล่งพลังงานสำคัญของเซลล์อสุจิ มีการศึกษามากมายที่สนับ- สนุนว่าคาร์นิทีนเพิ่มการผลิตเซลล์อสุจิและเพิ่มการเคลื่อนที่ของเซลล์ด้วย แต่ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่า คาร์นิทีนเพียงตัวเดียวจะช่วยลดภาวะเสื่อมสมรรถภาพในผู้ชายได้

 

แหล่งอาหาร เนื้อแดงและนมสดเป็นแหล่งที่ดีของคาร์นิทีน ร่างกายเราสามารถสังเคราะห์คาร์นิทีนจาก กรดอะมิโนชนิดไลซิน (Lysine พบมากในถั่วฝักและอัลฟัลฟา) และกรดอะมิโนชนิดเมไธโอนีน (Methionine พบมากในธัญพืชและผักใบเขียว) ได้เช่นกัน ผู้ที่มีปัญหาของกล้ามเนื้อหัวใจอาจรับประทานคาร์นิทีน วันละ 2-6 กรัม โดยแบ่งรับประทานวันละ 2 หรือ 3 ครั้ง ในผู้ที่เริ่มเสื่อมสมรรถภาพควรรับประทาน วันละ 2 กรัม ติดต่อกันอย่างน้อย 6 เดือน (เซลล์อสุจิใช้เวลา 74 วันจึงจะโตเต็มที่)

 

ข้อควรระวัง คาร์นิทีนค่อนข้างปลอดภัย แต่หากรับประทานเกินวันละ 6 กรัม อาจเกิดอาการบวม ตะคริวหรือท้องเสียได้ ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับกล้ามเนื้อหัวใจควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้คาร์นิทีน

 

ที่มา  http://siamdara.com/

.



Latest





เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ “นโยบายการใช้คุกกี้”   ยอมรับ   นโยบายการใช้คุกกี้ X