เหมาทุกอย่าง! คนจีนกว้านซื้อ "ผ้าอนามัย" ในญี่ปุ่นจนเกลี้ยงร้าน
2015-03-03 17:52:49
Advertisement
Pyramid Game

 

        นักท่องเที่ยวจีนกว้านซื้อผ้าอนามัยทั่วแดนอาทิตย์อุทัย ทำให้ร้านค้าญี่ปุ่นจำกัดการซื้อแค่คนละ 2 ชิ้นเท่านั้น
       

       ร้านค้าหลายแห่งในประเทศญี่ปุ่นติดป้ายเป็นข้อความภาษาจีน จำกัดการซื้อผ้าอนามัยคนละ 2 ชิ้นเท่านั้น หลังผ้าอนามัยที่ผลิตในประเทศจีนถูกตรวจพบว่ามีสารเรืองแสง ที่ทำให้สินค้าดูขาวสะอาด แต่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
       
       นักวิทยาศาสตร์ ระบุว่า สารเรืองแสงสามารถถูกดูดซึมผ่านรูขุมขนเข้าสู่กระแสเลือด โดยแตกต่างจากสารเคมีอื่น คือ ไม่อาจจะถูกขับออกจากร่างกายได้โดยง่าย แต่จะสะสมภายในร่างกายจนเกิดเป็นพิษ สารเรืองแสงที่ใช้ฟอกขาวผ้าอนามัยจะส่งผลร้ายต่อตับและอวัยวะภายใน ทำให้เกิดอาการแพ้, อักเสบ, แผลหายช้าและมีผลต่อระบบหมุนเวียนเลือด นอกจากนี้ยังมีผลการวิจัยพบว่า สารเรืองแสงอาจก่อให้เกิดมะเร็งได้ในระยะยาว
       
       ผ้าอนามัยที่ผลิตในประเทศจีนและหลายประเทศถูกตรวจพบว่ามีการใช้สารเรืองแสง หากแต่กรมควบคุมอาหารและยาของญี่ปุ่นได้ออกกฎหมายห้ามใช้สารเรืองแสงหรือสารฟอกขาวกับผ้าอนามัยตั้งแต่ปี 1997 เนื่องจากแพทย์ระบุว่า ในช่วงที่มีประจำเดือน ส่วนบอบบางของผู้หญิงจะเปิดกว้าง ทำให้เสี่ยงที่สารเคมีในผ้าอนามัยจะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย จนอาจเกิดการติดเชื้อ, ส่งผลต่อการตั้งครรภ์ หรือกระทั่งเสี่ยงเป็นมะเร็งได้ 
 

        ปัญหาความปลอดภัยในอาหารและผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของประเทศจีน ทำให้ชาวจีนไม่ไว้วางใจที่จะใช้สินค้าที่ผลิตในประเทศตัวเอง และไปกว้านซื้อสินค้าที่ผลิตในต่างแดน ตั้งแต่ นมผง, ข้าวสาร, เครื่องสำอางค์, ยา แม้กระทั่ง หม้อหุงข้าว และ ฝารองโถชักโครก ที่จำหน่ายในญี่ปุ่นหรือฮ่องกง ก็ถูกนักท่องเที่ยวชาวจีนกวาดซื้อจนเกลี้ยงร้าน
       
       สาเหตุที่ร้านค้าแดนซากุระต้องจำกัดการซื้อสินค้า เนื่องจากระบบผลิตสินค้าของญี่ปุ่นมีการแบ่งช่วงระหว่างโรงงานผู้ผลิต, ผู้ค้าส่ง และร้านค้าปลีกที่ชัดเจน โดยผู้ผลิตจะจำหน่ายสินค้าให้กับผ้ค้าส่งรายใหญ่เท่านั้น จากนั้นก็จะมีการกระจายสินค้าต่อเป็นทอดๆ ระบบเช่นนี้ทำให้ผู้ผลิตสามารถควบคุมวัตถุดิบ, ปริมาณการผลิต และโกดังสินค้าได้ สินค้าจึงมีจำหน่ายอย่างทั่วถึงและราคามีความแน่นอน หากแต่การกว้านซื้อของผ้บริโภคจากแดนมังกร ทำให้ระบบการกระจายสินค้าของญี่ปุ่นสับสนอลม่านและเกิดสินค้าขาดตลาด ทำให้ผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นไม่พอใจอย่างมาก ทางร้านค้าจึงต้องใช้มาตรการจำกัดการซื้อ


ขอขอบคุณที่มา  http://manager.co.th/

 

.



Latest





เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ “นโยบายการใช้คุกกี้”   ยอมรับ   นโยบายการใช้คุกกี้ X