จ่อคุมเข้มคุณภาพ “เนื้อสัตว์” ปลอดสาร ไร้เชื้อปนเปื้อน นำร่อง “เชียงใหม่-สระบุรี”
2015-01-31 12:29:22
Advertisement
คลิก!!!

สธ. จับมือ ก.เกษตรฯ และ FAO คุมคุณภาพมาตรฐานเนื้อสัตว์ตลอดทั้งห่วงโซ่ หวังประชาชนกินเนื้ออย่างปลอดภัย ไร้เชื้อโรค สารเคมีปนเปื้อน พร้อมจัดกิจกรรมส่งเสริม นำร่องก่อนที่เชียงใหม่และสระบุรี

วานนี้ (30 ม.ค.) ที่โรงแรมรามาการ์เดนส์ นพ.สุริยะ วงศ์คงคาเทพ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้ลงนามร่วมกับ นสพ.สรวิศ ธานีโต รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ นายวิลลิ เอ เฟาวอ ผู้แทนจากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ในโครงการความร่วมมือ “เสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันความปลอดภัยด้านอาหารและการควบคุมคุณภาพอาหารในการบริหารจัดการห่วงโซ่ของผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์” เพื่อสร้างมาตรฐานความปลอดภัยเนื้อสัตว์ ในการประชุมด้านอาหารปลอดภัย

นพ.สุริยะ กล่าวว่า เนื้อสัตว์เป็นอาหารที่มนุษย์จำเป็นต้องบริโภคทุกวัน เพื่อช่วยสร้างการเจริญเติบโต ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ แต่ที่ผ่านมายังพบปัญหาการปนเปื้อนเชื้อโรค เช่น เชื้อวัวบ้า การใช้สารเร่งเนื้อแดง ยาปฏิชีวนะตกค้าง รวมทั้งบริโภคไม่ถูกสุขลักษณะ ทำให้เกิดอันตราย ซึ่งบางครั้งรุนแรงถึงชีวิต สำหรับการบริโภคเนื้อสัตว์พบว่า ทั่วโลกบริโภคเนื้อสัตว์ทุกชนิดกว่า 300 ล้านตันต่อปี ส่วนใหญ่เป็นเนื้อหมู รองลงมาคือเนื้อสัตว์ปีก เฉลี่ยคนละ 43 กิโลกรัมต่อปี ส่วนคนไทยบริโภคเนื้อสัตว์เฉลี่ยคนละ 27 กิโลกรัมต่อปี

นพ.สุริยะ กล่าวว่า โครงการนี้ทำขึ้นเสริมสร้างประสิทธิภาพระบบการบริหารจัดการอาหารตลอดทั้งห่วงโซ่ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อสัตว์ของประเทศไทย ตั้งแต่ฟาร์ม ตลาด ร้านอาหาร และผู้บริโภค เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภค ว่า ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ของไทยปราศจากสิ่งปนเปื้อนและเชื้อโรค นอกจากนี้ จะยังสนับสนุนให้ไทยเป็นศูนย์กลางระบบการขนส่งในอาเซียน โดย FAO ได้สนับสนุนงบประมาณ และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 261,000 เหรียญสหรัฐ ระยะเวลาดำเนินการ 2 ปี ตั้งแต่ ม.ค. 2558 - ธ.ค. 2559 โดยการดำเนินการจะมีการวิเคราะห์และการประเมินจุดที่ยังเป็นปัญหาในระบบการควบคุมอาหารขององค์กรที่เกี่ยวข้อง ทั้งกรมปศุสัตว์ สธ. องค์กรท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อปรับบทบาทหน้าที่ให้ชัดเจน ลดช่องว่างและความซ้ำซ้อน

“นอกจากนี้ จะจัดทำแผนและกิจกรรมส่งเสริมความเข้มแข็งการควบคุมคุณภาพร่วมกัน เพื่อพัฒนาคุณภาพความปลอดภัยของเนื้อสัตว์และนม โดยนำร่องใน 2 จังหวัดก่อน คือ เชียงใหม่ และ สระบุรี พร้อมทั้งพัฒนาเว็บไซต์ www.foodsafetythailand.net เพื่อเผยแพร่ข้อมูลแก่ประชาชน และแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ประสานงานเครือข่ายเตือนภัยด้านความปลอดภัยอาหารระหว่างประเทศขององค์การอนามัยโลก (INFOSAN) กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดการเมื่อเกิดเหตุการณ์ความไม่ปลอดภัยด้านอาหาร ที่สำคัญ จะปรับปรุงหน่วยงานของ สธ.ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานงาน INFOSAN ให้เข้มแข็งและมีประสิทธิภาพมากขึ้น” รองปลัด สธ. กล่าว
ที่มา http://www.manager.co.th/
onlyfans leaked xxx onlyfans leaked videos xnxx 2022 filme porno filme porno
.



Latest





เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ “นโยบายการใช้คุกกี้”   ยอมรับ   นโยบายการใช้คุกกี้ X