ความสำเร็จของ BTS กลายเป็นหัวข้อที่ถูกพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการสัมมนาระดับนานาชาติ
2019-12-12 09:40:57
Advertisement
คลิก!!!

 

บรรดานักวิชาการทั้งในประเทศและทั่วโลกต่างวิเคราะห์ถึงเหตุผลที่ BTS ถูกเรียกว่า “The Beatles แห่งศตวรรษที่ 21” ด้วยข้อมูลของพวกเขา

ในวันที่ 11 ธันวาคม บรรดานักวิชาการได้มารวมตัวกันที่ Baekkyang Nuri Hall, มหาวิทยาลัย Yonsei และค้นพบ 3 ปัจจัยหลักเบื้องหลัง “กระแส BTS ซินโดรม” นั่นก็คือข้อความ, กลุ่มแฟนคลับและสื่อดิจิตอล พวกเขาพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับหัวข้อที่เกี่ยวข้องในงานสัมมนาระดับนานาชาติด้วยหัวข้อ “K-Pop Beyond BTS : เทคโนโลยีสื่อ, อุตสาหกรรมที่สร้างสรรค์และวัฒนธรรมกลุ่มแฟนคลับ” ซึ่งจัดโดยสถาบันวิจัยวัฒนธรรมและเพศภายใต้สมาคมการศึกษาวารสารศาสตร์และสื่อสารเกาหลี งานดังกล่าวจัดขึ้นในเวลา 10.00 น. – 18.00 น. โดยมีนักวิชาการทั้งในประเทศและนักวิชาการที่เป็นที่รู้จักจากต่างประเทศ 50 คน, สมาชิกของสมาคมเกี่ยวกับการศึกษา, และคนทั่วไปจำนวน 200 คนเข้าร่วมงาน

คำกล่าวปราศรัยเปิดงานของศาสตราจารย์ฮงซุกคยอง (Hong Suk Kyung) (จากคณะวารสารศาสตร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยโซล) ร่วมกับบทความ 12 บทความและคำปราศรัยนั้นก็เพียงพอที่จะเรียนรู้และยืนยันถึงเหตุผลในการสร้าง “The Beatles ในศตวรรษที่ 21” เป็นกระแสวัฒนธรรม BTS ซินโดรมแล้ว นอกจากเกาหลีแล้ว นักวิชาการจากประเทศอื่นๆ เช่น อเมริกา, แคนาดา, จีน, ฯลฯ ก็ต่างให้ความเห็นและมีบทวิเคราะห์ที่หลากหลายเกี่ยวกับ “กระแส BTS ซินโดรม”

เหตุผลแรกของ “กระแส BTS ซินโดรม” ที่ถูกเลือกโดยบรรดานักวิชาการคือเรื่องข้อความ ศาสตราจารย์จินดัลยง (Jin Dal Yong) จากมหาวิทยาลัย Simon Fraser บอกว่า “ข้อความที่มาซึ่งความหวัง” คือความลับของ BTS ในการสร้างกลุ่มแฟนคลับที่ยิ่งใหญ่ จากการสำรวจผ่านแฟนคลับ BTS 200 คนทั่วโลกศาสตราจารย์จินวิเคราะห์ว่า “แฟนคลับหลายคนได้รับความสบายใจจากข้อความที่จริงใจที่ BTS สื่อในชีวิตประจำวันและจากเพลงของพวกเขา ยกตัวอย่างเช่น 'Love yourself' ความสัมพันธ์ของการให้กำลังใจร่วมกัน, ความเข้าใจ, และความรักเพื่อโลกที่ดีขึ้นที่มีอยู่ระหว่างพวกเขา” เขาอธิบายว่า “BTS และแฟนคลับได้สร้างอิทธิพลที่แข็งแกร่งต่อเวทีโลกในช่วงเวลาสั้นๆ นี่จึงเป็นสิ่งที่แสดงถึงสถานะปัจจุบันของการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมที่ไม่จำกัดในยุคแห่งสื่อใหม่นี้”

เหตุผลที่สองที่ถูกเสนอจากโลกฝั่งวิชาการคือกลุ่มแฟนคลับในรูปแบบใหม่ สังคมแฟนคลับของ BTS อาร์มี่เป็นกลุ่มที่มีความหลากหลายของเชื้อชาติและเผ่าพันธุ์ ซึ่งพวกเขาสนับสนุนศิลปินอยู่เสมอและมีการติดต่อสื่อสารระหว่างกันเองอยู่ตลอด และยังแสดงออกแตกต่างกันไปอีกด้วย ศาสตราจารย์จองอารึม (Jung Ah Reum) จากมหาวิทยาลัยเสฉวน ประเทศจีน และนักวิจัยปริญญาเอก ลู เทียน (Lu Tian) จากมหาวิทยาลัย Baptist ประเทศฮ่องกง แสดงความคิดเห็นว่ากลุ่มแฟนคลับ K-Pop ในทุกวันนี้มีการติดต่อสื่อสารกันอยู่ตลอดและเป็นระบบที่เป็นวัฒนธรรมอันเป็นที่นิยมของผู้บริโภคและโดยเฉพาะความโดดเด่นที่เปลี่ยนไปหลังจากการปรากฏตัวของ BTS นอกไปจากนี้ นักวิชาการหลายคนยังพูดถึงเรื่องที่ BTS ได้เพิ่มความกระตือรือร้นจากแฟนคลับทั่วโลก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กวัยรุ่นอีกด้วย

ปัจจัยสุดท้ายเบื้องหลัง “กระแส BTS ซินโดรม” ถูกระบุว่าคือ “สื่อดิจิตอล” สื่อดิจิตอลสามารถเข้าใจได้ว่าเป็นรูปแบบที่พัฒนาขึ้นของเทคโนโลยี ศาสตราจารย์คิมจูอค (Kim Joo Ok) จากมหาวิทยาลัย Texas A&M International สหรัฐอเมริกา เน้นย้ำว่ามันคือ “การพัฒนาของดิจิตอล” ที่สร้าง “ปรากฏการณ์ BTS” ที่ร้อนแรงขึ้นเมื่อ BTS เป็นวงที่ “ยืนอยู่บนขอบ” และมาจากบริษัทเล็ก ศาสตราจารย์คิมวิเคราะห์ว่า “จากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดิจิตอล เราได้พบกับการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมในแบบใหม่ๆ มากมาย ซึ่งมอบความสำเร็จให้กับ BTS – วงที่เป็นที่รู้จักว่าเป็น ‘The Beatles ในยุค Youtube’ ด้วยเช่นกัน จากสื่อโซเชียลมีเดียและความมั่นคงอย่างมากของกลุ่มแฟนคลับ การขยายตัวระดับโลกของปรากฏการณ์ BTS จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง”

ประธานคิมชุนซิกจากสมาคมวิจัยการพูดภาษาเกาหลี – ตัวแทนที่เป็นผู้อ่านคำปราศรัยเปิดงาน – กล่าวว่า “เราจัดงานประชุมระดับนานาชาตินี้ขึ้นมาเพราะเรารับรู้ถึงคุณค่าของการศึกษาวัฒนธรรมในปัจจุบันที่หมุนอยู่รอบ BTS – วงที่ยกระดับ K-Pop ไปสู่วัฒนธรรมที่เป็นที่นิยมระดับโลก งานในครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อสร้างพื้นที่ให้นักวิชาการมากมายทั้งในประเทศและต่างชาติให้มารวมตัวกันและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน”

 

.



Latest





เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ “นโยบายการใช้คุกกี้”   ยอมรับ   นโยบายการใช้คุกกี้ X