“พระศรีนรารัฐราชกิริณี” ปาฏิหาริย์ช้างเผือกรัชกาลที่ 9
2016-11-12 15:27:43
Advertisement
Pyramid Game

ในความเชื่อที่มีมาแต่โบราณของไทย ช้างเผือก หรือช้างที่มีลักษณะตรงตามตำราพระคชศาสตร์ ถือว่าเป็นเครื่องเชิดชูเกียรติประดับบารมีของพระมหากษัตริย์ เมื่อมีช้างเผือกเข้ามาสู่พระบารมีจะทรงโปรดเกล้าฯ ให้ทำพิธีสมโภชขึ้นระวาง พระราชทานนามเป็น “พระยาช้างต้น หรือนางพระยาช้างต้น” และให้ยืนโรงช้างประจำพระราชฐาน พระมหากษัตริย์พระองค์ใดมีช้างเผือกมาก จะเชื่อกันว่ามีพระบุญญาบารมีมาก

ดังเช่น “พระศรีนรารัฐราชกิริณี” เป็นหนึ่งในช้างสำคัญของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 เป็นช้างสำคัญอยู่ในตระกูล “พรหมพงศ์” จำพวก “อัฏฐทิศ” ชื่อ “อัญชัน” ซึ่งมีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจควรแก่การศึกษา

โดยช้างสำคัญเชือกนี้เป็นลูกช้างพัง อายุประมาณ 2 ปีเศษ มีถิ่นกำเนิดจากช้างป่า นายมายิ มามุ อายุ 50 ปี มีภูมิลำเนาเดิมอยู่บ้านเลขที่ 9 หมู่ที่ 4 ตำบลมนังตายอ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส ได้ประกอบอาชีพทำไร่ทำสวนอยู่บนเขากือซา หมู่ที่ 7 ตำบลจะแนะ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส ในขณะที่พืชผลที่ปลูกไว้กำลังเจริญงอกงามนั้น ได้มีช้างป่ามารบกวนกินพืชผักอยู่ตลอดเวลา

อยู่มาคืนหนึ่ง ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2519 มีแม่ช้างได้นำลูกช้างมากินพืชผลที่นายมายิปลูกไว้ นายมายิจึงทำการขับไล่ แม่ช้างหนีไป ส่วนลูกช้างไม่ยอมหนี นายมายิจึงได้นำลูกช้างดังกล่าวนี้มาเลี้ยงดูไว้ และตั้งชื่อเป็นภาษาพื้นเมืองว่า “จิ” โดยเลี้ยงด้วยน้ำนมและพืชผักตามที่จะหาได้ อยู่มาวันหนึ่ง ลูกช้างไม่ยอมกินอาหารทำให้ร่างกายซูบผอมลง นายมายิ กลัวลูกช้างจะตายจึงกล่าวกับลูกช้างเป็นภาษาพื้นเมืองว่า “มาแกละเนอะ วีรายอ” ซึ่งมีความหายว่า “กินอาหารเสียเถอะ แล้วจะนำถวายพระเจ้าแผ่นดิน” เมื่อนายมายิกล่าวเช่นนั้น คำกล่าวนี้ดังจะบอกเหตุอันเป็นมงคล เพราะหลังจากนั้นลูกช้างก็ยอมกินอาหารดังปกติ

จากนั้น นายมายิเลี้ยงดูลูกช้างมาได้ 8 เดือนเศษ ก็ไม่สามารถจะเลี้ยงดูต่อไปได้ จึงมอบลูกช้างให้พันตำรวจตรี สาโรจน์ จินตวิโรจน์ สารวัตรใหญ่สถานีตำรวจภูธรอำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส นำมาเลี้ยงไว้ที่บริเวณสถานีตำรวจภูธร อำเภอระแงะ และตั้งชื่อให้ลูกช้างพังเสียใหม่ว่า “จิตรา” ต่อมาพันตำรวจตรี สาโรจน์ จินตวิโรตน์ ได้มอบลูกช้างให้พันโทประสาท แทนขำ ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 313 ซึ่งตั้งหน่วยปฏิบัติการอยู่ที่วัดชลธาราวาส ตำบลตันหยงมัส อำเภอระแงะ เลี้ยงดูอีกต่อหนึ่ง ซึ่งพันโทประสาท แทนขำ ได้สังเกตเห็นว่าลูกช้างพังนี้มีลักษณะดี จึงได้รายงานให้ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาสทราบ


%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a8%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%99%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%90%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%8a%e0%b8%81%e0%b8%b4%e0%b8%a3%e0%b8%b4%e0%b8%93%e0%b8%b5เนื่องจาก นายวัชระ สิงคิวิบูลย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส สังเกตเห็นว่าลูกช้างพังดังกล่าวนี้ มีลักษณะดีเป็นพิเศษต่างกับช้างธรรมดาสามัญทั่วไป จึงได้รายงานให้กระทรวงมหาดไทยทราบ กระทรวงมหาดไทยในฐานะเป็นผู้รักษาพระราชบัญญัติรักษาช้างป่า พุทธศักราช 2464 ได้ขอให้ผู้ชำนาญการคชลักษณ์ของสำนักพระราชวังไปทำการตรวจสอบ ซึ่งสำนักพระราชวัง ได้มอบหมายให้จมื่น สิริวังรัตน (เฉลิม คชาชีวะ) ผู้สืบตระกูลพระหมอเฒ่ากรมช้างต้น และคณะเดินทางไปตรวจสอบคชลักษณ์ที่จังหวัดนราธิวาส ในที่สุดรายงานว่า ลูกช้างนี้สมบูรณ์ด้วยมงคลลักษณะถูกต้องตามตำรา พระคชลักษณ์ศาสตร์ อยู่ในตระกูล “พรหมพงศ์” จำพวก “อัฐทิศ” ชื่อ “อัญชัญ” สมควรขึ้นระวางเป็นช้างต้นคู่พระบารมี

ดังนั้น กระทรวงมหาดไทยพร้อมด้วยประชาชนจังหวัดนราธิวาส มีความปลื้มปีตียินดีที่มีช้างสำคัญอุบัติขึ้นในจังหวัด จึงกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานน้อมเกล้าฯ ถวายลูกช้างสำคัญเชือกนี้ เพื่อเป็นพระราชพาหนะคู่พระบารมีตามราชประเพณี

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงพระราชดำริเห็นว่า การที่มีช้างสำคัญขึ้นในพระราชอาณาจักร โบราณราชประเพณีย่อมนิยมว่าเป็นสิริมงคลแก่ประเทศชาติ เมื่อกระทรวงมหาดไทย ผู้ว่าราชการจังหวัดพร้อมด้วยประชาชน ได้น้อมเกล้าฯ ถวายช้างสำคัญอันอุดมด้วยมงคลลักษณ์ตามตำราพระคชลักษณ์ศาสตร์เช่นนี้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สำนักพระราชวังกำหนดเสด็จพระราชดำเนินไปทรงรับการน้อมเกล้าฯ ถวายช้างสำคัญ และโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งพระราชพิธีขึ้นระวางสมโภชช้างสำคัญที่จังหวัดนราธิวาส เป็นงานพิธีรวม 3 วัน ระหว่างวันที่ 23-25 สิงหาคม พุทธศักราช 2520

โดยช้าง “จิตรา” ได้ขึ้นระวางเป็น “พระศรีนรารัฐราชกิริณี” หรือนามเต็มว่า

“พระศรีนรารัฐราชกิริณี จิตรวดีโรจนสุวงศ์ พรหมพงศ์อัฐทิศพิศาล พิเสฐธารธรณิพิทักษ์ คุณารักษ์ กิตติกำจร อมรสารเลิศฟ้า”

และนี่คือตำนานช้างเผือก “พระศรีนรารัฐราชกิริณี” ที่เกิดขึ้นในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งปัจจุบันยืนโรงอยู่ที่โรงช้างต้น พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต

เรียบเรียงจาก : หนังสือรวมพระราชนิพนธ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ, วิกิพิเดีย

ที่มา http://www.bangkokbanksme.com

onlyfans leaked xxx onlyfans leaked videos xnxx 2022 filme porno filme porno
.



Latest





เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ “นโยบายการใช้คุกกี้”   ยอมรับ   นโยบายการใช้คุกกี้ X